วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ย้อนวัยเด็กกับ"ซาฟารีเวิลด์ อาณาจักรแห่งความสุข" ...



ซาฟารีเวิลด์ ธีมปาร์คมาตรฐานโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทย บรรยากาศร่มรื่นสวยงาม กว้างใหญ่ในใจกลางกรุงเทพฯ ศูนย์รวมการแสดงยิ่งใหญ่ระดับโลก 7 โชว์ 7 เวที อาทิ โชว์อุรังอุตังชกมวย โชว์สิงโตทะเล โชว์โลมา โชว์นก โชว์สตั้นท์ โชว์สงครามจารกรรม และโชว์ละครสัตว์ ตื่นตาตื่นใจกับล่องเรือจังเกิลครูซ ท่ามกลางป่าดิบอเมซอน บรรยากาศน่าพิศวงนี้ต้องใช้เวลารอคอยนานกว่า 15 ปี และสวนสัตว์เปิด มีสัตว์หายาก ใกล้สูญพันธ์ รวมทั้งสัตว์อนุรักษ์มากกว่า 400 ประเภท จำนวนมากกว่า 4,000 ตัวจากทั่วทุกมุมโลก สัมผัสชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ สัตว์ป่าหายากนานาชนิด ใกล้ชิดกับฝูงสัตว์ป่ามากมาย อาทิ ฝูงยีราฟ ม้าลาย กระทิง ควายป่า แรดขาว กวางป่า อิมพาลา และตื่นเต้นกับการแสดงให้อาหารสัตว์ดุร้ายในโซนเสือ สิงโต และหมี ที่คุณไม่ควรพลาด !!! ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากกว่า 27 ล้านคนมาเที่ยวชมดินแดนมหัศจรรย์แห่งนี้ รวมถึงผู้นำระดับประเทศ บริษัท ห้างร้าน องค์กร มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และโรงเรียนทั่วราชอาณาจักรนับพันแห่งได้มาเยี่ยมชมและทัศนศึกษา ณ ซาฟารีเวิลด์แห่งนี้เป็นประจำตลอดเรื่อยมา ซาฟารีเวิลด์ เปิดบริการทุกวัน วันจันทร์ -ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-17.30 น. (เปิดรับรถเข้าซาฟารีปาร์คคันสุดท้ายเวลา 16.30 น.) วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 9.00- 18.00 น. (เปิดรับรถเข้าซาฟารีปาร์คคันสุดท้ายเวลา 17.00 น.) * ละครสัตว์มอสโก งดโชว์ทุกวันจันทร์ ยกเว้น วันจันทร์ที่เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ * ล่องเรือจังเกิลครูซ เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-16.30 น.ค่าบัตรผ่านประตูชุด Package สำหรับผู้ใหญ่ราคา 390 บาท และเด็ก (ความสูง 101-140 ซม.) ราคา 290 บาท สำหรับเด็กเล็กความสูงไม่ถึง 100 ซม. เข้าชมฟรี โดยบัตรชุด Package จะสามารถเข้าชมและใช้บริการได้ทุกส่วน ทั้งซาฟารีปาร์ค (สวนสัตว์เปิด - บริษัทฯ มีรถโค้ชปรับอากาศ บริการนำเข้าชมซาฟารีปาร์ค...ฟรี) มารีนปาร์ค ท่านจะได้เพลิดเพลินได้รับชมการแสดงทุกชุด (ชมโชว์ยิ่งใหญ่ถึง 7 โชว์ 7 เวที) พร้อมชมละครสัตว์มอสโก และล่องเรือจังเกิลครูซ นอกจากนี้ภายในมารีนปาร์ค มีบริการอาหารฟาสต์ฟู้ดให้ท่านเลือกสรรมากมาย พร้อมเครื่องดื่มและอาหารว่าง หรือจะเลือกอร่อยกับอาหารบุปเฟต์ที่ภัตตาคารจังเกิลครูซผู้ใหญ่ท่านละ 120 บาท เด็ก 80 บาท พร้อมด้วยร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เกมส์ทาวน์ บริการเช่ารถเข็นสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ และบริการอื่นๆ

อำเภอปาย "สวรรค์บนดินของนักท่องเที่ยว"



ปาย เป็นเมืองเก่าแก่ มีหลักฐานว่า เจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปายและในสมัย พระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่ง เจ้าแก้วเมือง ออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ ว่า เวียงใต้ ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า เวียงเหนือ
พ.ศ. 2454 เมืองปายได้ยกฐานะเป็นอำเภอ โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ รองอำมาตย์เอกหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์)
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เมืองปาย เป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไป พร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณ พ.ศ. 2318 – 2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้าน และพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่คนไทยวน (คนเมือง) คนไทใหญ่ ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน
เมืองปาย สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อำเภอปาย มีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนาน คัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวงอำเภอเมือง เชียงใหม่มีรายงานการสำรวจว่า ในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้
-ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย ) อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตก ราว 1,500 เมตร พบซากกระดูก และระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์ หลงเหลืออยู่บางส่วน ถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้ ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีอยู่หลายแห่งเช่น
-ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
-ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ, หม้อดินลายเชือกทาบ,ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
-ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย (ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย) ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้าน ประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ
ชุมชนโบราณเมืองน้อย
การตั้งถิ่นฐานของปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) ชุมชนโบราณเมืองน้อยเป็นชุมชนที่พบหลักฐานทางด้านโบราณคดี และหลักฐานตำนานและศิลาจารึกที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองน้อยเป็นเมืองสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน ตำแหน่งละติจูดที่ 19 องศา 30 ลิปดา 58 ฟิลิปดา เหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศา 30 ลิปดา 50 ฟิลิปดา ตะวันออก ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร จากอำเภอปายไปทางทิศเหนือ เมืองน้อย เมื่อสองร้อยปีเศษมานี้มีสภาพเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันได้มีชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เข้าไปจับจองอาศัยตั้งบ้านเรือนที่บ้านเมืองน้อยโดยมีชื่อใหม่หลายหมู่บ้าน คือ บ้านหัวฝาย บ้านห้วยงู บ้ายห้วยเฮี้ย บ้านห้วยหก บ้านกิ่วหน่อ บ้านมะเขือคัน
เมืองน้อย : ชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงเรื่องราวเมืองน้อยว่า ในรัชกาลของพระญาติโลกราช ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 1984 – 2030 พระองค์มีโอรสชื่อท้าวบุญเรือง หรือศรีบุญเรืองครองเมืองเชียงราย ต่อมาถูกแม่ท้าวหอมุกกล่าวโทษ จึงให้ท้าวบุญเรืองไปครองน้อย ในที่สุดก็ถูกฆ่าตาย เมื่อสิ้นสมัยพระญาติโลกราชแล้ว โอรสของท้าวบุญเรือง ชื่อพระญายอดเชียงรายได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ปกครองได้ไม่นานถูกกล่าวหาว่า พระองค์ ราชาภิเษกวันจันทร์ ถือว่าเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง ไม่ประพฤติอยู่ในขนบธรรมเนียมของท้าวพระญา ไม่ประพฤติอยู่ในทศพิธราชธรรมและยังมีใจฝักใฝ่ไมตรีกับห้อ เสนาอำมาตย์จึงได้ล้มราชบัลลังค์ และได้อัญเชิญให้ไปครองเมืองน้อย ใน พ.ศ. 2038 พระญายอดเชียงรายประทับอยู่เมืองน้อยได้ 10 ปี ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2048 เมื่อพระชนมายุได้ 50 พรรษา พระญาเมืองแก้วกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ราชโอรสของพระญายอดเชียงราย ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระศพของพระญายอดเชียงรายที่เมืองน้อย และสร้างอุโบสถครอบ
ครั้นพระญาเมืองแก้วเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2068 เสนาอำมาตย์ได้อัญเชิญพระอนุชาจากเมืองน้อยให้มาครองราชย์เชียงใหม่ และกทำราชาภิเษกเป็น พระญาเมืองเกส ใน พ.ศ. 2069 พระองค์ครองราชย์จนถึง พ.ศ 2081 (พระญาเมืองเกส ครองราชย์เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068 – 2081 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086 – 2088) เสนาอำมาตย์ไม่ชอบใจได้ปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังค์ และอัญเชิญท้าวชาย ราชโอรสให้ครองราชย์แทน ในปี พ.ศ. 2081 ท้าวชายประพฤติตนไม่อยู่ทศพิธราชธรรม เสนาอำมาตย์ได้รอบปลงพระชนม์ใน พ.ศ. 2086 และได้อัญเชิญพระญาเมืองเกส จากเมืองน้อยมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง
บ้านเมืองน้อยมีโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดเจดีย์หลวง” ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มีแนวกำแพงกำหนดเขตพุทธาวาส ขนาด 80 X 100 X 1 เมตร ขนาดซุกซีวิหาร ฐานซุกซีอุโบสถขนาด 4 X 8.50 เมตร (สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระญายอดเชียงราย) ซุ้มประตูโขงด้านทิศตะวันออก เจดีย์ขนาด 11 X 11 X 17 เป็นเจดีย์แบบเชิงช้อนย่อเหลี่ยม บางส่วนยังมีลวดลายการก่ออิฐทำมุม เจดีย์ถูกสร้างขึ้นจากอิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 –21 เจดีย์ถูกขุดค้นหาสมบัติลักษณะแบบผ่าอกไก่ จากยอดถึงฐานต่ำสุด มีหลุมลึกประมาณ 1 เมตร ทำให้มองเห็นฐานรากของการก่อสร้างเจดีย์ที่ใช้ก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่วางซ้อนกันเป็นฐานราก ก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างมีขนาด 6 X 11 นิ้ว และในบริเวณวัดเจดีย์หลวง ยังพบ จารึกบนแผ่นอิฐ 2 ชิ้น
จารึกหลักแรก พบในบริเวณด้านเหนือของโบราณสถาน จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยวน จำนวน 3 บรรทัด บรรทัดที่ 2-3 จารึกกลับหัว จากบรรทัดที่ 1 ความว่า “(1) เชแผง (2) เนอ เหย เหย (3) ฅนบ่หลายแล แล แล “ ความในจารึกชิ้นนี้กล่าวถึงนายเชแผง ผู้เป็นหนึ่งในผู้ปั้นอิฐในการก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้ รำลึกถึงคนจำนวนไม่มากนักในการสร้างศาสนสถานแห่งนี้ หรือในเมืองนี้
จารึกหลักที่สอง พบก่อร่วมกับอิฐก้อนอื่น ๆ ในบริเวณแนวกำแพงด้านใต้ของโบราณสถานจารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน จำนวน 1 บรรทัด ส่วนครึ่งแรกหายไป ส่วนครึ่งหลังอ่านได้ใจความว่า “สิบกา (บ)” จารึกชิ้นนี้บอกผู้ปั้นว่าสิบกาบ คำว่า “สิบ” อาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางล้านนาสมัยโบราณ เรียกว่า “นายสิบ” หรือเนื่องจากอิฐส่วนหน้าที่หักหายไปบริเวณกี่งกลางของก้อนอิฐนั้น คำว่า “สิบกา(บ)” อาจสันนิษฐานได้ว่า ข้อความเต็มด้านหน้าที่หายไปเป็น “(ห้า) สิบกาบ” หรือขุนนางระดับนายห้าสิบก็อาจเป็นได้
วิวรรณ์ แสงจันทร์ กล่าวว่า จากหลักฐานโบราณคดี ซากวัดร้าง ต่าง ๆ จำนวน 30 แห่ง ในเมืองน้อย รวมทั้งวัดเจดีย์หลวง และข้อความที่พบ สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนที่นี่เป็นเมืองใหญ่ในอดีต มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่จำนวนมากได้
ชุมชนโบราณบ้านเวียงเหนือ
นอกจากเมืองน้อยแล้ว เมืองปายยังพบชุมชนโบราณที่บ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูด 19 องศา 22 ลิปดา 34 ฟิลิบดา เหนือ ลองจิจูด 98 องศา 27 ลิปดา 17 ฟิลิปดา ตะวันออก
เมืองปายมีหลักฐานตำนานกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ในสมัยพระญาแสนพู กษัตริย์เชียงใหม่ (พ.ศ. 1868 – 1877) สร้างเมืองเชียงแสน พ.ศ. 1871 ได้กำหนดให้เมืองปายเป็นเมืองขึ้นของพันนาทับป้อง ของเมืองเชียงแสนในสมัยนั้น (พงศาวดารโยนก หน้า ตำนานเชียงแสน ว่าเมืองจวาดน้อย /จวาดน้อย/สันนิษฐานว่าเป็นคำเดียวกับคำว่า ชวาดน้อย)
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2028 ปีมะเส็ง สัปตศก (วันศุกร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ จุลศักราช 847 ปีดับใส้) เจ้าเถรสีลสังยมะ ให้หล่อพระพุทธรูปเวลารับประทานอาหารเช้า(ยามงาย) (ฮันส์ เพนธ์, 2542)
พ.ศ. 2032 มหาเทวี (พระมารดาพระญายอดเชียงราย) พระราชทานที่ถวายพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ ก่อสร้างมหาเจดีย์ มหาวิหาร ผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดศรีเกิด (ปัจจุบันชาวบ้านเรียก วัดหนองบัว (ร้าง) บ้านแม่ฮี้ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย) พ.ศ. 2033 มีการถวายข้าทาสอุปฐากพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ อุโบสถ มหาวิหาร มหาเจดีย์ พระพุทธรูป ห้ามไม่ให้ผู้ใด นำข้าทาสเหล่านี้ไปทำงานอื่น หากยังเคารพนับถือพระญายอดเชียงรายอยู่ หากฝ่าฝืนขอให้ตกนรกอเวจี
พ.ศ. 2044 ปีระกา ตรีศก เจ้าหมื่นพายสรีธัม(ม์)จินดา หล่อพระพุทธรูป หนักสี่หมื่นห้าพันทอง เดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล(เมืองพาย /อำเภอปาย) (ปัจจุบันพระพุทธรูปนี้ เก็บรักษาไว้ ณ วัดหมอแปง ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดร.ฮันส์ เพนธ์ คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ่านฐานพระพุทธรูป วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549 ความว่า “ในปีร้วงเร้า สักราชได้ ๘๖๓ ตัว เจ้าหมื่นพายสรีธัมจินดา ส้างรูปพระพุทธะเป็นเจ้าตนนี้ สี่หมื่นห้าพันทอง ในเดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล” (ดร.ฮันส์ เพนธ์ กล่าวว่า หมื่น เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพาย ตำแหน่งใหญ่เทียบเท่าเมืองเชียงแสน เมืองลำปาง/ 1 ทอง เท่ากับ 1.1 กรัม)
พ.ศ. 2124 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า พระญาลำพูนมาครองเมืองปาย (พลาย)
พ.ศ. 2283 ปรากฏชื่อวัดป่าบุก ตั้งอยู่ทิศใต้ของเมืองปาย (พลาย) ช้างตัวผู้ ดังความว่า “วัดป่าบุก ใต้เมืองพายช้างพู้” (คัมภีร์ ธัมมปาทะ (ธรรมบท) ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่)
พ.ศ. 2330 เมืองปายรวมตัวกับเมืองพระเยา เมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองปุ เมืองสาด กันขับไล่พม่า แต่เมืองพระเยาทำการไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2412 ขณะที่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยงวงศ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2399-2413) ลงไปถวายบังคมกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพ ฯ ฟ้าโกหล่านเมืองหมอกใหม่ ยกกองทัพมาตีเมืองปาย ซึ่งสมัยนั้นมีฐานะเมืองขึ้นของเชียงใหม่ เจ้าราชภาคีไนย นายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์ รักษาการเมืองเชียงใหม่ ทำหนังสือถึง เจ้าเมืองลำปาง และเมืองลำพูน ให้มาช่วยเมืองปาย หลังจากนั้นเจ้านายและกองทัพจากสามเมือง ยกกำลังมาช่วยเมืองเชียงใหม่รบกับกองทัพของฟ้าโกหล่าน โดยทีนายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำปาง มีนายน้อยพิมพิสาร นายหนายไชยวงศ์ คุมกำลัง 1000 คน จากเมืองลำพูนมีนายอินทวิไชย นายน้อยมหายศ คุมกำลัง 500 คน แต่ไม่สามารถป้องกันเมืองปายได้ กองทัพฟ้าโกหล่าน จุดไฟเผาบ้านเรือน ในเมืองปาย และกวาดต้อนผู้คนและครอบครัวไปอยู่เมืองหมอกใหม่ กองทัพทั้งสามเมืองจึงได้ติดตามไปถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน แต่ตามไม่ทันจึงได้เดินทางกลับ
พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองปาย ตั้งแต่ถูกฟ้าโกหล่านตีแตก จุดไฟเผาบ้านเมือง กวาดต้อนผู้คนไปเมืองหมอกใหม่แล้ว เมืองปายมีสภาพเป็นร้างบางส่วน ไม่มีผู้รักษาเมือง ยังถูกกองทัพเงี้ยว และลื้อ กวาดต้อนครอบครัวไปอยู่เป็นประจำ จึงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้ง พระยาชัยสงคราม (หนานธนันไชย บุตรราชวงศ์มหายศ) เป็นพระยาเกษตรรัตนอาณาจักร ไปปกครองเมืองปาย ให้ยกเอาคนจากเมืองเชียงใหม่ไปตั้งเมืองปาย ให้เป็นภูมิลำเนาบ้านเรือนเหมือนเดิม เพื่อจะได้ป้องกันรักษาด่านเมืองเชียงใหม่
พ.ศ. 2438 พระยาดำรงราชสิมาผู้ว่าราชการเมืองปายถูกพวกแสนธานินทร์พิทักษ พ่อเมืองแหง ปล้นแล้วแสนธานินทร์พิทักษประกาศเกลี้ยกล่อมคนเมืองปั่น เมืองนาย เมืองเชียงตอง เมืองพุ มารบเมืองปายและจะเก็บริบเอาทรัพย์สิ่งของให้หมด พระยาทรงสุรเดช พร้อมด้วยเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ประชุมเจ้านายหกตำแหน่งมอบหมายให้เจ้าอุตรโกศลออกไปปราบปราม
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ส่างนันติคนในบังคับอังกฤษ ใช้ดาบฟันส่างสุนันตา และเนอ่อง คนในบังคับสยาม ตาย ณ ตำบลกิ่วคอหมา แขวงเมืองปาย และนำทรัพย์สินไปมูลค่าประมาณ 1,000.-บาท ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ ได้ตัดสินประหารชีวิต (คำพิพากษาที่ 25/125 ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 24 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 อ้างในศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2535/คำพิพากษานี้เป็นคำพิพากษาในสมัยที่สยาม (ไทย) ตกอยู่ภายใต้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตตามสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398) และจำเลยได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กรุงเทพ ได้ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และให้ประหารชีวิตตามคำพิพากษาศาลล่าง (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 20 ปี ค.ศ. 1906 อ้างใน ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2536)
พ.ศ. 2454 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองเมือง เปลี่ยนฐานะเมืองปายเป็นอำเภอปาย และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกระหว่าง พ.ศ. 2454 – 2468

ไหว้พระอยุธยามหามงคล ( วัดใหญ่ชัยมงคล มีมงคลด้านชัย เมตตามหานิยม )


ไปไหว้พระทำบุญกันะคะ อยุทธยาเป็นจังหวัดที่ผู้คนนิยมไปไหว้พระกันอย่างมากมายนะคะเพราะจังหวัดอยุทธยาเป็นจังหวัดที่มีวัดมากและล้วนแล้วแต่มีประวัติที่และความเป็นมาอันยาวนานแนะนำนะคะใครหลายคนที่ไม่ในช่วงวันหยุดไม่รู้ว่าจะไปไหนดี ชวนเพื่อนมาไหว้พระที่พระนครศรีอยุทธยากันนะคะ
ใน พ.ศ. ๒๗๕ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าราชาธิราชปกครองมคธราษฎร์ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งและทรงทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนายิ่งกว่านักบวชในศาสนาอื่นๆ ทำให้นักบวชนอกพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า “เดียรถีย์”ปลอมตนเข้าบวชเป็นพระภิกษุด้วยหวังลาภสักการะเป็นอันมาก จนเกิดแตกสามัคคีเพราะรังเกียจกันในหมู่สงฆ์ จึงมีการไต่สวนและกำจัดพวกเดียรถีร์ออกเสียจากภิกษุภาวะ พระสงฆ์ที่ทรงธรรมวินัยโดยถ่องแท้ได้พร้อมกันทำตติยสังคายนา ที่เมืองปาตลีบุตร มี พระโมคคลีบุตรติสเถระ เป็นประธาน ในพระราชูปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราชหลังจากทำตติยสังคายนาแล้วได้จัดส่งพระเถรานุเถระไปสั่งสอนพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ ๙ สายด้วยกัน คือ
๑. พระมัชฌันติก ไปประเทศกัสมิระ และคันธาระ(แคว้นแคชเมียร์ และอาฟฆานิสถาน)
๒. พระมหาเทว ไปมหิสมณฑล (ไมสอ)
๓. พระรักขิต ไปวนวาสีประเทศ (เหนือบอมเบข้างใต้)
๔. พระธรรมรักขิต ไปอปรันตกประเทศ (ชายทะเลเหนือบอมเบ)
๕. พระมหาธรรมรักขิต ไปมหารัฐประเทศ (ห่างบอมเบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
๖. พระมหารักขิต ไปโยนกโลกประเทศ (อยู่ในเปอร์เชีย)
๗. พระมัชฌิม ไปหิมวันตประเทศ (ในหมู่เขาหิมาลัย)
๘. พระโสณะ และ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิประเทศ (ไทย)
๙. พระมหินทเถระ ไปลังกาทวีป
ในลังกาทวีปการพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้โดยความอุปการะช่วยเหลือของ พระเจ้าอโศกมหาราชอย่างไรก็ดี เมื่อเวลาล่วงไปลังกาทวีปได้ถูกพวกทมิฬ ซึ่งเป็นชนชาติหนึ่งอยู่ตอนใต้ปลายแหลมชมพูทวีปมาแต่เดิมรุกราน และมีอำนาจเหนือลังกาทวีปหลายครั้งประการหนึ่ง การแย่งราชสมบัติรบราฆ่าฟันกันเองประการหนึ่ง ทำให้การพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปปั่นป่วน และแตกแยกเป็นหลายลัทธิ และบางทีก็เสื่อมลงถึงที่สุด จนไม่มีพระเถระสำหรับบวชกุลบุตร และสืบพระศาสนา ต้องส่งทูตไปขอพระเถระจากต่างประเทศ เข้าไปบวชกุลบุตรเป็นหลายครั้ง รวมทั้งประเทศไทยด้วยในระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๒๙พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอย่างมาก เพราะเกิดพวกอลัชชี ถึงกับต้องชุมนุมสงฆ์ชำระและกำจัดภิกษุอลัชชีหลายคราวเหตุที่เกิดอลัชชีมี ๒ ประการ คือ
๑. ลังกาทวีปถือพระพุทธศาสนาก็จริง แต่ได้รับขนบธรรมเนียมอย่างอื่นมาจากชมพูทวีปด้วย โดยเฉพาะการถือชั้นวรรณะตามคติของพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬมีอำนาจมากก็กีดกันคนชั้นต่ำเข้าบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ครั้นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินสิงหฬเสื่อมทราม คนชั้นต่ำก็เข้าบวชมาก ผู้ดีบวชน้อยลง
๒. ระหว่าง พ.ศ. ๔๓๙-พ.ศ. ๔๕๕ พระเจ้าวัฏคามินีอภัย เสียราชธานีแก่พวกทมิฬ เที่ยวหลบหนีอยู่ในมลัยประเทศ ไม่มีพระราชทรัพย์ทำนุบำรุงพระสงฆ์ จึงทรงอุทิศที่ดินพระราชทานแทนเรียกว่า “ที่กัลปนา” (นับเป็นครั้งแรก) ให้ราษฎรซึ่งอาศัยได้ผลประโยชน์จากที่ดินนั้น ทำการอุปการะตอบแทนแก่พระสงฆ์ จึงเป็นราชประเพณีสืบต่อมา
เมื่อคน ชั้นเลวเข้าบวชมากขึ้น พระภิกษุพวกนี้ก็ขวนขวายหาลาภสักการจากที่ดินเลี้ยงตน ถึงกับเอาลูกหลานบวชไว้สำหรับครองอารามอย่างรับมรดก การบำเพ็ญกิจแห่งสมณะตามพระธรรมวินัยก็หย่อนยานด้วยเหตุ ๒ ประการดังกล่าว จึงเกิดพระสงฆ์พวกหนึ่งเรียกว่า “วนวาสี” ซึ่งถือความสันโดษ ไม่ข้องแวะต่อการแสวงหาลาภสักการมาบำรุงรักษาอารามปรากฏในตอนหลังๆ ว่า ชาวลังกาทวีปนับถือพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีมาก แต่พระภิกษุฝ่ายคามวาสีที่ดีก็คงมีจึงนิยมเป็นสงฆ์ ๒ ฝ่ายวนวาสี ก็คือ อรัญวาสี นั่นเอง และเป็นแบบอย่างมาถึงประเทศไทยเราด้วย

Tee Lor Su Waterfall




Tee Lor Su (sometimes transliterated as "The Lor Sue", "Thee Lor Sue" or "Te-law-zue") is the highest waterfall in Thailand and one of the highest in Asia. It is located in Tak province in North-western Thailand close to the Burmese boarder. Umpang (sometimes "Um Pang" or "Um Phang") is the nearest town and point of departure for Tee Lor Su and the other attractions in the area.
This page has been put together by and Napat Tantisayree. The aim is to provide basic information and a fairly extensive photographic record for potential visitors.

This index page links to four main sections:
The road to Umpang
This shows where it is and how do get there. The road from Mae Sot gives excellent views of the mountains dividing Thailand and Burma, it also passes the Pa Jalearn waterfall.
Along the Mae Klong river
It is possible to travel close to Tee Lor Su on a rubber or bamboo raft. The route passes the Tee Lor Cho waterfall.
Tee Lor Su
The final stage is along an elephant trail through the forest.

Umpang Blog
The web page was put together in 2000 so much of the information may now be out of date. A blog page has been added in the hope that readers might update some of the information.

About the authors
Frank Gregory was formally an information systems professor. He has published four books and has had ten years experience as a journalist.
Napat Tantisayree was formally a script writer for Thai television. She became a prize winning photographer while still an undergraduate and has had pictures published in Kinaree the in-flight magazine of Thai Airways International.
Copyright
Both the written word and the photographs contained in these pages are copyright of the authors. Materials may be downloaded or printed for private study or research. Permission of the authors is required for any commercial use of the materials or the non commercial republication of the materials (including personal home pages).
Photography
The photographs on these pages are available for sale to publishers and other interested parties.
The pictures by Frank Gregory were taken with an Olympus C-1400L digital camera. They are available as digital images only.
Those by Napat Tantisayree were taken with a Nikon 35 mm camera and are available as 35 mm slides, prints or digital images.

Winter Vacations in Disney World


เป็นสวนสนุกที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันอยากจะซักครั้ง นิดก็คนนึงอ่ะคะที่ฝันแบบนั้นหวังว่าซักวันเราคงได้ไปเที่ยวกันนะคะ
The majority of those visiting Disney World do so in the summer. The reason for this is pretty simple, that`s when people have vacations and the kids are out of school. There are some great advantages to hitting the happiest place on
earth during the winter months, though.
Benefits of Winter Disney
The main reason you`ll enjoy visiting Disney World in the winter is the amazing lack of people. Since the majority of vacationers won`t be hanging around the parks until spring, you`ll be able to walk right onto rides, often with only a couple minutes of waiting. Not only does this mean you get to ride more often, it also lets you see a lot more in a shorter amount of time.
The weather in Florida is warm year round, so you don`t need to worry about a winter vacation being too chilly. In fact, many prefer winter in Florida because it`s cooler than the summer months, making walking all over the parks a far easier task and much more comfortable.
It`s often worth taking the kids out of school for a few days to enjoy the relative peace of the parks during this season. You`ll find that you`ll have even less competition for rides and events if you hit the parks on a major holiday, such as Thanksgiving, when everyone is celebrating at home. The parks are still running and will be virtually empty!
Another fun part of visiting in the winter is that you`ll get to see the seasonal shows. For example, there are Christmas parades that you wouldn`t be able to see at any other point during the year. These are definitely worth watching and won`t be available during the summer months.
You may also find hotel rooms are cheaper at this time of year, since there are fewer tourists in the area. Look online for discounts ahead of time to get the best deals and you can end up staying very near Disney for a fraction of summer prices.
Planning Your Winter Vacation
Remember that during the low season is when rides are often under construction, so if there is one that you particularly want to visit, check first to make sure it will be running when you arrive. Planning ahead will make your vacation easier and ensure that it runs smoothly.
Buying park hopper tickets is your best bet, no matter when you go. These allow you to jump between the four Disney World parks and stay at one for more than one day, should you choose. Regular park tickets will only let you visit one park on the specified day and don`t allow for changes in plans. You may find that you`ve had enough of the Animal Kingdom after half a day and park hopper tickets will let you head to one of the other parks for the afternoon, if you wish.
By planning your trip early, you`ll be able to make the most of discounts on everything from plane tickets and hotel rooms to rental cars and park tickets. Searching online will turn up coupon codes and sale prices for all of these options. Your local travel agent will also be able to help you get good deals on transportation and hotels. Most hotels in the Disney area have free shuttles.
A winter vacation in Disney World is a great way to maximize your enjoyment of the parks. There are few crowds and your patience won`t be tested. It`s the ideal time to enjoy the thrills of Disney, while spending less time and money.



วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู"



สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ดินแดน เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู และความเป็นธรรมชาติที่น่าสัมผัสอีกมากมาย ช่วงฤดูหนาวแบบนี้ก็อยากจะชวนเพื่อนๆ มาเที่ยวที่จังหวัดเลยกันเยอะๆ นะคะ นิดไปมาแล้วเลยอยากให้เพื่อนๆได้สัมผัสกับบบรยากาศหนาว และ ธรรมชาติรับรองว่าไม่ผิดหวังค่ะ

เมืองเลย ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม" มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนก ที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนลานช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบพ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบั้นอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐาน ว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อบยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำ ไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็น " เมืองด่านซ้าย " อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยาง ในที่สุดโดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ และอำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทย ต่อแดนลานช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงคราม ข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่ หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไล อยู่ด้วยความ สงบร่วมเย็นมา จนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เ กิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพ ไปตามลำแม่น้ำเซไล ถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า " บ้านแห่ " (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน" ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึคงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย" ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำน้ำเลย" พ.ศ. 2449 - 2540 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ใหคงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่อำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย
จังหวัดเลยเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่เหนือสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,383 ไร่ (ประมาณร้อยละ 6.74 ของเนื้อที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ) พื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 เป็น ป่าและภูเขสูงสลบซับซ้อน ตัวจังหวัดห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 550 กิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง เป็นแนวพรมแดน ระยะทางยาว 194 กิโลเมตร และจังหวัดเลย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน ทิศใต้ ติดต่อ อ. ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น , อ.น้ำหนาว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ทิศตะวันออก ติดต่อ อ.สังคม จ.หนองคาย, อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี, กิ่ง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู , อ.สีชมภู จ.ขอนแก่น ทิศตะวันตก ติดต่อ อ.นครไทย อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลกโดยแนวชายแดนที่ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นแนวกั้น อาณาเขต รวมระยะทาง 194 กม. (กิโลเมตร) - แม่น้ำโขงระยะทางยาว 71 กม. (อยู่ในเขต อ.ปากชม อ.เชียงคาน) - แม่น้ำเหืองระยะทางยาว 123 กม. (อยู่ในเขต อ.ท่าลี อ.ภูเรือ อ.ด่านซ้าย อ.นาแห้ว)
ข้อมูลทั่วไป
เลย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีอาณาเขตติดต่อกับภาคเหนือ ภูมิประเทศประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อย อากาศหนาวเย็นและมีหมอกปกคลุมอยู่เสมอ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ558กม. มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ หนองคาย อุดรธานี และมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองกั้นพรมแดนไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบ่งการปกครองออกเป็น12อำเภอ และ2กิ่งอำเภอ
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออก จดจังหวัดหนองคาย และหนองบัวลำภู ทิศตะวันตก จดจังหวัดพิษณุโลก
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังสถานที่ต่าง ๆ
- อำเภอวังสะพุง 23 กิโลเมตร
- อำเภอนาด้วง 32 กิโลเมตร
- อำเภอเชียงคาน 47 กิโลเมตร
- อำเภอท่าลี่ 47 กิโลเมตร
- อำเภอภูหลวง 49 กิโลเมตร
- อำเภอภูเรือ 50 กิโลเมตร
- อำเภอผาขาว 70 กิโลเมตร
- อำเภอภูกระดึง 73 กิโลเมตร
- อำเภอด่านซ้าย 82 กิโลเมตร
- อำเภอปากชม 90 กิโลเมตร
- อำเภอนาแห้ว 125 กิโลเมตร
- กิ่งอำเภอเอราวัณ 50 กิโลเมตร