วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"เขื่อนภูมิพล "

เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง154 เมตร ยาว486เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 3,462 ล้านลูกบาศก์เมตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้าซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่17 พฤษภาคมและ15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่17 พฤษภาคม 2507 ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และเครื่องที่7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ 11 พฤษภาคมวันที่ 9 สิงหาคม 2510 วันที่25ตุลาคม วันที่ 19 สิงหาคม 2512และวันที่18 ตุลาคม 2525 ตามลำดับเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไปในปี พ.ศ.2531การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 ทำให้มีพลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเครื่องละ 6,300 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 และ พฤศจิกายน 2536 ตามลำดับส่วนการปรับปรุงเครื่องเครื่องที่3-4 มีการปรับปรุงกำลัง ผลิตเท่ากันกับเครื่อง ที่ 1-2 แล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม2540 ตามลำดับนอกจากนี้ ในปี 2534 กฟผ.ได้ติดตั้งกระแสไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171,000 กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 779.2 เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 สามารถ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง 10 ล้านไร่ ต่อปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด เขื่อนแม่ปิงตอนล่างเป็นเขื่อนขนาดเล็กชนิดดินถมแกนดินเหนียวปิดทับ ด้านหน้าหินทิ้ง สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 กิโลเมตร ความยาวเขื่อน 200 เมตร สูง 12 เมตรจากท้องน้ำ ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 4.92 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2538สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2538 เขื่อนภูมิพลและเขื่อนแม่ปิงตอนล่างสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์จนกระทั่งปัจจุบันนี้

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"ไปดูกันว่าภาคกลางเค้ามีไรน่าเที่ยวบ้าง"



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วังจันทรเกษมหรือวังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ วังจันทรเกษมปรากฎหลักฐานพงศาวดารว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประมาณ พ.ศ. 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ฯลฯ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยาและโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2436 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่าเมื่อ พ.ศ. 2442 และจนกระทั่งเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าจึงได้จัดสร้างอาคาร ที่ทำการภาคบริเวณกำแพง ทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจาก พระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคาร ที่ทำการภาคในขณะนั้น กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมจนกระทั่งปัจจุบัน โบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้กำแพงและประตูวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม4 ด้านเป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 กำแพงของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านใน และพบซากอิฐในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง แต่เดิมนั้นคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า วังจันทรเกษมมีกำแพง 2ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เป็นพลับพลาเครื่องไม้ มีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 3 มุข เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เวลาเสด็จประพาส ต่อมาในปีพ.ศ. 2449 พระองค์ทรงโปรดให้ใช้พลับพลาจตุรมุข เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ เรียกว่าอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระยาโบราณราชธานินทร์ได้ทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่และเปลี่ยนหน้าบันจากรูปปูนปั้นมาเป็นไม้แกะสลัก ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้เช่น พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์ พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวังประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยาและศาลาเชิญเครื่อง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันจัดแสดง ประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์สมัยต่างๆ และเครื่องไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง เป็นหอสูงสี่ชั้น สร้างครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามรากฐานอาคารเดิมและทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาวอาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ริมกำแพงหลังพระที่นั่งพิมานรัตยาตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือตึกที่ทำการภาค สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวสร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ เรื่องศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปะวัตถุพุทธบูชาและวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่าระเบียงจัดตั้งศิลาจารึก แต่เดิมสร้างเป็นระเบียงหลังคามุงสังกะสียาวไปตามแนวกำแพงด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกใช้สำหรับเป็นที่เก็บรักษาบรรดาโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้รวบรวมไว้การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา เมื่อข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีกครั้งและตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะผ่านตลาดเจ้าพรหม จากนั้นจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 180 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมสอบถามรายละเอียดเพิ่ม

เติมที่โทร. 0 3525 1586, 0 3525 2795 โทรสาร 0 3525 1586
window.google_render_ad();




อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประวัติความเป็นมา หว้ากอ...เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถนำความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ นำการเมืองทำให้ประเทศชาติปลอดภัย ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจคณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯและในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536อาคารดาราศาสตร์
อาคารดาราศาสตร์
ประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน คือ อาคารพันทิวาทิต พันพินิจจันทรา ดาราทัศนีย์ มีฐานการเรียนรู้ 11 ฐานการเรียน ได้แก่ บันทึกเกียรติยศ, โลกอนาคต, เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ, โลกของเด็ก, ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, มนุษย์กับดวงดาว, พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, รวมใจชาวประจวบ, ความเป็นไปในจักวาลและเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ำ มีทั้งสีสันความสวยงามของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มในมิติใหม่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ
ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน คือ ส่วนอัศจรรย์โลกสีคราม, ส่วนจากขุนเขาสู่สายน้ำ, ส่วนสีสันแห่งท้องทะเล, ส่วนเปิดโลกใต้ทะเล, ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและส่วน
กิจกรรมปฏิบัติการกิจกรรมค่ายหว้ากอ
1. พบกับบรรยากาศแบบสบายๆ เป็นกันเอง ได้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคี การตรงต่อเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย
2. พบกับกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายสักการะรัชกาลที่ 4 กิจกรรมดูนก ดูดาว กิจกรรมศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมชายหาด กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ฯลฯนอกจากนี้ยังมี big tank และอุโมงค์ปลา ที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ และเห็นถึงความแตกต่างของสรรพสิ่งในระดับความลึกของน้ำราวดำดิ่งสู่ก้นทะเลลึก จากนั้นไปต่อกันที่อุโมงค์ปลาซึ่งเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ให้คุณสัมผัสดุจดั่งกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลเลยทีเดียว
3. มีที่พักสะอาดบรรยากาศติดทะเล สามารถรองรับสมาชิกได้ประมาณครั้งละ 120-200 คน มีทั้งห้องพักและเต้นท์ ห้องพักเป็นแบบห้องพักรวม แยกชายหญิง ห้องพักพัดลม มีห้องน้ำอยู่นอกห้องพักหลังอาคารพัก
4. มีอาหาร น้ำดื่ม บริการในราคาแบบเป็นกันเอง
หลักสูตรที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
1. ค่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ค่ายสิ่งแวดล้อม
3. ค่ายสอนน้องดูดาว
4. ค่ายปักษี
5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ค่าสำหรับเด็กพิการ
8. ค่ายครอบครัว
9. ค่ายทักษะชีวิต ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายตลอดหลักสูตร 3 วัน 2 คืน รวมค่าอาหาร ที่พัก วัสดุอุปกรณ์และค่าตอบแทนวิทยากรประมาณ 250-300 บาท/คนสามารถจองค่ายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานการตลาด โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 ในวันและเวลาราชการ
สวนผีเสื้อ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองให้คุณได้ชื่นชมมากกว่า 20 ชนิด บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น มีมุมนั่งพักผ่อนชมปลาแหวกว่ายเวียนวน และดูน้ำตกสวยๆ เพียบพร้อมด้วยเกร็ดความรู้ให้คุณได้ศึกษา เกี่ยวกับวงจรชีวิตผีเสื้อในห้องจัดแสดงวงจรชีวิตผีเสื้อ ซึ่งคุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อครบทั้ง 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีศาลาแห่งชีวิตและมีตัวอย่างผีเสื้อที่เก็บรักษาไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วยเวลาทำการ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะ
: สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคมฯ ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าในเวลาราชการ โดยทำหนังสือส่งถึง : ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมู่ 4 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 โทรสาน. 032 661 727
เมื่อ 100 กว่าปี ล่วงมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จึงถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไดัรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์ใน วันที่14 กันยายน 2525 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536สถานที่ตั้ง อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อวจ.) ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ หมู่ 4 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77000 บริเวณกิโลเมตรที่ 335 ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 314 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินจำนวน 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา อยู่ติดชายทะเลบริเวณอ่าวหว้ากอ มีชายหาดยาว 2.7 กิโลเมตร ขนานทางรถไฟสายใต้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข (032) 661098, 661726-7,661103 โทรสาร ต่อ 133พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จะจัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าจะเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การเดินทางไปอุทยานวิทยาศาสตร์
-ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ( สายธนบุรี ปากท่อ ) ผ่านทาง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเลี่ยวซ้าย สู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน มุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร หรืออาจจะเดินทาง จากกรุงเทพ มาทางสายพุทธมณฑล ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี แล้วมุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานวิทยาศาตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้โดยรถประจำทางธรรมดาและรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายใต้
-โดยรถประจำทางสายกรุงเทพ-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีรถออกเดินทางวันละหลายเที่ยว
-ทางรถไฟ เดินทางออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีขบวนรถเดินทางวันละ 9 เที่ยว

"ไปเที่ยวตะวันออกเฉียงเหนือกัน"










ภายในวัดหนองแวง (พระอารามหลวง)



มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูน เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น) จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานตากแห ภายในองค์พระธาตุมีอยู่ 9 ชั้น คือชั้นที่ 1 เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงกลางและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น โดยเฉพาะบานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติและมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่นชั้นที่ 2 เป็นหอพัก บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัยชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอมชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่าบานประตูหน้าต่างภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศและตัวพึ่ง-ตัวเสวยชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดกชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดรชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้นชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นบึงแก่นนครได้สวยงามมาก




วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร







ประวัติความเป็นมา
พระธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุ พนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า ๒,๓๐๐ ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระ มหากัสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุผู้ที่ร่วมช่วยในการสร้างพระ ธาตุนี้คือ ท้ายพระยาเมืองต่าง ๆ พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรณ์ (เมืองนครพนม เดิม) พญาจุลนีพรหมทัด พระยาอินทรปัตนคร และพญาดำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จและบรรจุอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ ภายในเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น "วรมหาวิหาร" ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวัน ประชาชนทั้ง ประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จ สิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามาก มายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุ มีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม ความสำคัญต่อชุมชน พระธาตุพนมนี้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประชาชนลาวด้วย ในฤดูเทศกาล เพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ มาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมเป็นวัดวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ถึงคราวพระราชพิธีราชาภิเษกทุกรัชกาลมา จะต้องนำน้ำจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ไปร่วมพิธีด้วยเพื่อประกอบพิธีมุรธาภิเษก และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีเดิม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานต้นไม้ ทอง เงิน น้ำอบและผ้าคลุมส่งไปนมัสการพระธาตุพนมทุกปี และเมื่อถึงเทศกาลเข้าปุ ริมพรรษา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาทุกปีมา งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓ ลักษณะสถาปัตยกรรม รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ใน นิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า “..พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธ ศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่ มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้าง ใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้ง รูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า “ฟูนัน” คล้าย “พนม “ เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง ๓ ชั้น ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน...” ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.dhammathai.org/watthai/northeast/watphrathatphanom.php





วัดถ้ำกลองเพล จ.นครพนม



วัดถ้ำกลองเพล
เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ไป ๑๓ กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร
เดิมสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดินแห่งนี้ แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ พระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ ๓-๔ ก้อน ที่มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั่นจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงามกลาดเกลื่อนวัด มีถ้ำซึ่งภายในถ้ำมีกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ภายในถ้ำมีรูปปั้นของหลวงปู่ขาว ตามซอกหินภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และมีพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าถ้ำกลองเพล จากวัดถ้ำกลองเพลไม่ไกลนักมีถนนลาดยาง ลัดเลาะไปตามแนวป่าและหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง ๒ กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วย
พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวใช้เป็นที่ระลึกและสักการะบูชาของศาสนิกชนทั่วไปกุฎิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว
สร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน ๓ ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย
เจดีย์หลวงปู่ขาว
เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อใช้บรรจุอัฐิหลวงปู่ขาว สร้างอยู่บนลานหินมีบันไดเป็นทางเดินขึ้นไปสู่องค์เจดีย์มณฑปหลวงปู่ขาว อยู่วัดถ้ำกลองเพล โดยมีทางแยกทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ ๓๐๐ เมตรเป็นมณฑปจตุรมุขที่หลวงปู่ขาวสร้างไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีสังฆกรรม รอบๆ บริเวณ เงียบสงบและร่มรื่น เจดีย์หลวงปู่ขาวและมณฑปหลวงปู่ขาว
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จยกกองทัพมาที่ตำบลหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๗ เพื่อไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดี ที่กรุงศรีสัตตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทน์) เนื่องจากขณะนั้นไทยเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะริมหนองบัว หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ในวันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี ทางจังหวัดจะจัดให้มีงานเฉลิมฉลองและมีพิธีถวายสักการะบวงสรวงดวงวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้
ตั้งอยู่ริมถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ จากตัวเมืองไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนร่มรื่นไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ และโขดหินรูปต่างๆ บริเวณใกล้เคียงมีศาลเจ้า “ปู่หลุบ” ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวหนองบัวลำภู และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา
ศาลหลักเมืองพระวอ พระตา
อยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ ๑๐๐ เมตร ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวหนองบัวลำภูได้เคารพสักการะพระผู้สร้างเมือง ซึ่งหมายถึง พระวอ และพระตา อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ศาลหลักเมืองได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์
ห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภูไปทางจังหวัดอุดรธานีประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ เป็นหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม
ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา
ตั้งอยู่ที่บ้านนาล้อม ตำบลหัวนา ระยะทางห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภู ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๘ สายหนองบัวลำภู-ศรีบุญเรือง ประมาณ ๑๙ กิโลเมตร ก่อตั้งโดยแม่ชีทองเพชร ขันตีกลม ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นบ้านนาล้อม ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลาจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาการอพยพแรงงานของคนหนุ่มสาวที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวงหรือต่างถิ่น โดยรวบรวมกลุ่มผู้สนใจในอาชีพต่างๆ เข้ามาฝึกอบรมที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ ซึ่งมีหลายอาชีพ เช่น งานศิลปประดิษฐ์ กรอบรูปวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา ซ่อมเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม งานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น ที่ศูนย์ฯ แห่งนี้มีกฏระเบียบที่เคร่งครัด ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนต้องงดอบายมุขทุกชนิด การสอนเน้นวิชาชีพเป็นหลักแล้วสอดแทรกจริยธรรมผสมผสานเข้าไป ศูนย์ฯ จะมีสวัสดิการเป็นอย่างดี เช่น มีที่พักและอาหารให้รับประทาน เมื่อเลิกปฏิบัติงานประจำวันต้องสวดมนต์ไหว้พระและศึกษาธรรมพื้นฐานทุกวัน นอกจากจะเป็นศูนย์พัฒนาอาชีพแล้ว ทางศูนย์ฯ ยังจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นฝีมือของสมาชิกการเดินทางไปศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลานั้น จากสถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานี จะมีรถประจำทางอุดรธานี-ชุมแพ สาย ๕๓๒ ออกทุกครึ่งชั่วโมง ไปลงที่หน้าศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา กิโลเมตรที่ ๑๙ ระหว่างหนองบัวลำภู และอำเภอศรีบุญเรือง
หนองบัว
เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอหนองบัวลำภู มีน้ำขังตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็นของชาวหนองบัวลำภู ด้านหลังของหนองบัวจะมองเห็นแนวเขาภูพานคำทอดยาวดูสวยงาม
สุสานหอยล้านปี
สภาพเป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงประมาณ ๕๐ เมตร พบซากหอยดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิค มีอายุราว ๑๔๐–๑๕๐ ล้านปี ลักษณะเป็นรูปหอยอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์จำนวนมาก ภายในบริเวณใกล้เคียงยังพบซากกระดูกจระเข้โบราณ เศษหินจาไมก้าและแร่ธาตุบางชนิดอีกด้วย การเดินทางนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายหนองบัวลำภู-อุดรธานี ซึ่งจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๐ (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ และเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร จะถึงบริเวณที่พบซากหอยโบราณ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"ยโสธร เมืองแห่งประเพณีบุญบั้งไฟ"

เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดยโสธรจากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า “บ้านสิงห์ท่า” หรือ “เมืองสิงห์ท่า” ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น “เมืองยโสธร” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา
ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515

อาณาเขต การปกครอง
จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ประมาณ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และไทยเจริญ
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนมทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด

การเดินทาง
ทางรถยนต์ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง
ทางรถไฟหรือเครื่องบินสำหรับผู้โดยสารโดยรถไฟและเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาลงที่ยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางรถไฟ โทร.1690,0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th และตารางการบิน โทร. 1566,0 2628 2000 ,0 2356 1111 www.thaiairways.com
ทางรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 0 2936-2852-66 www.transport.co.th

การเดินทางจากอำเภอเมืองยโสธรไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - กิโลเมตรอำเภอทรายมูล 18 กิโลเมตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว 23 กิโลเมตรอำเภอป่าติ้ว 28 กิโลเมตรอำเภอกุดชุม 37 กิโลเมตรอำเภอมหาชนะชัย 41 กิโลเมตรอำเภอไทยเจริญ 50 กิโลเมตรอำเภอเลิงนกทา 69 กิโลเมตรอำเภอค้อวัง 70 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
โรงพยาบาลยโสธร โทร. 0 4571 2580, 0 4572 2486-7ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4571 1093สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4571 2722สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร โทร. 0 4571 1683–4

"หนองคาย เมืองบั้งไฟพญานาค"


ข้อมูลทั่วไป :
หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศจังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้

ภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดหนองคาย มีภูมิประเทศ ติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ในฤดูหนาว ราวเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเมษายน อากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส

หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี

ประวัติเมืองหนองคาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย

การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย รวมระยะทาง 615 กิโลเมตร

ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

ทางรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศไปหนองคาย ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 (จตุจักร) โทร. 0 2936 2852-66 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดหนองคาย เช่น 407 พัฒนา โทร. 0 2992 3475-8 , 0 4241 1261 ชาญทัวร์ จำกัด โทร. 0 2618 7418, 0 4241 2195 บารมีทัวร์ โทร. 0 2537 8249, 0 4246 0345 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0253 , 0 4246 1067 http://www.transport.co.th/

ทางเครื่องบิน
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. 1566,0 2628 2000 , 0 2356 1111 www.thaiairways.com หรือ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.หนองคาย
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถเช่าของบริษัทนำเที่ยวซึ่งมีมากมายในตัวเมือง หรืออาจใช้บริการรถสามล้อเครื่องที่เรียกกันว่า สกายแล็ป ไปยังจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ในตัวเมืองและใกล้เคียง เช่น ตลาดท่าเสด็จ วัดโพธิ์ชัย ศาลาแก้วกู่ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากสถานีขนส่งหนองคายมีรถโดยสารสายหนองคาย-เลย วิ่งผ่านอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคม และอำเภอเชียงคานของจังหวัดเลย ซึ่งเป็นเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง ในอำเภอเหล่านี้จะมีที่พักแบบเกสต์เฮ้าส์สำหรับบริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหนองคาย-นครพนม ด้วย

การเดินทางจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอ -กิโลเมตรอำเภอสระใคร 26 กิโลเมตรอำเภอท่าบ่อ 42 กิโลเมตร อำเภอบุ่งคล้า 181 กิโลเมตร อำเภอโพนพิสัย 45 กิโลเมตร อำเภอศรีเชียงใหม่ 57 กิโลเมตรอำเภอรัตนวาปี 71 กิโลเมตร อำเภอเฝ้าไร่ 71 กิโลเมตร อำเภอโพธิ์ตาก 77 กิโลเมตรอำเภอปากคาด 90 กิโลเมตรอำเภอสังคม 95 กิโลเมตร อำเภอโซ่พิสัย 90 กิโลเมตรอำเภอบึงกาฬ 136 กิโลเมตรอำเภอศรีวิไล 163 กิโลเมตร อำเภอพรเจริญ 182 กิโลเมตรอำเภอเซกา 228 กิโลเมตร อำเภอบึงโขงหลง 238 กิโลเมตร

การเดินทางจากหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากรถโดยสารสายหนองคาย-กรุงเทพฯแล้ว จากสถานีขนส่งหนองคายยังมีบริการรถโดยสารสายหนองคาย-ระยอง (มีทั้งรถปรับอากาศและธรรมดา) รถธรรมดาสายหนองคาย-เลย และหนองคาย-อุดรธานี ติดต่อสถานีขนส่งหนองคายโทร. 0 4241 1612
ส่วนรถไฟมีรถออกจากสถานีหนองคายไปยังอุดรธานี ขอนแก่น และกรุงเทพฯ วันละประมาณ 3 เที่ยว ติดต่อสถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
ระยะทางจากหนองคายไปจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้
อุดรธานี 51 กิโลเมตรเลย 202 กิโลเมตรสกลนคร 210 กิโลเมตร นครพนม 303 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารท่องเที่ยว

- ททท. โทร. 0 4242 1326(อยู่ภายในบริเวณศูนย์ราชการ จ.หนองคาย)

-สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 4241 1021, 0 4241 1071

-โรงพยาบาลหนองคาย

-โทร. 0 4241 3456-8โรงพยาบาลหนองคาย-วัฒนา

-โทร. 0 4246 5201สถานีขนส่ง บ.ข.ส.

-โทร. 0 4241 1612ประชาสัมพันธ์จังหวัด

-โทร. 0 4241 2110สำนักงานจังหวัด

-โทร. 0 4241 1778ด่านศุลกากร

- โทร. 0 4241 1518, 0 4242 1207กองกำกับการตรวจคนเข้าเมือง

-โทร. 0 4241 1605สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1637 , 0 4241 1592


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"ถนนคนเดินที่เชียงใหม่"



* บริเวณหลังประตูท่าแพ สถานที่จัดการแข่งขันวิ่งเฉลิมพระเกียรติ เชียงใหม่มาราธอน ต่อเนื่องจากงานมาราธอนเอ๊กซ์โปร์ เลยออกมาทางด้านถนนราชดำเนิน-สีแยกกลางเวียง-วัดเจดีย์หลวงหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์-หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ เลยไปจนถึงหน้าวัดพระสิงห์ ความยาวกว่า 1.5 กม.ในคืนวันเสาร์ที่ 29-31 ธันวาคม 2550 ไปจนถึงวันอังคารที่ 1-2 มกราคม 2551 ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ท่านสามารถเดินเลือกชมเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองราคาถูกที่มาจากทุกแหล่งของ เชียงใหม่ รวมทั้งของกินของฝากมากมาย ภายใต้อากาศที่หนาวเย็น ซึ่งเป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย...

ถนนคนเดินเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่บริเวณ ประตูท่าแพ ผ่านไปยัง ถนนราชดำเนิน ที่นี่มีเฉพาะคืนวันอาทิตย์ แต่เนื่องในการจัดการแข่งขันเชียงใหม่มาราธอน และช่วงงานมหกรรมพืชสวนโลก เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงเพิ่มถนนคนเดินในคืนวันเสาร์ด้วย โดยท่านสามารถเดินชม เลือกของ สวยงาม กันอย่างเพลิดเพลิน สองข้างทาง เต็มไปด้วย สินค้าที่วางขาย ของพื้นเมือง ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า ผ้าพันคอ สุดฮิตโคมไฟ หรือแม้กระทั่ง ก้อนหินที่นำมาวาดลวยลายก็ยังมี วางขาย กัน หลากหลาย เดินจนเมื่อยขา หาของกินสักหน่อย มีทั้ง ขนมจีนv น้ำเงี้ยวน้ำยา ของ ทานเล่น และโรตีนี่มีทุกที่เลยละ ดื่มน้ำตะใคร้ร้อนเสียหน่อย เที่ยงคืนแล้ว ก็ยัง ไม่สุดถนนเลย คิดดู... อากาศหนาวๆ เดินเที่ยว กาดกลางคืน ถนนคนเดิน ที่ เชียงใหม่ นี่เพลินจริงๆได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากมาย ทั้งที่เป็นคนไทย คนเหนือ คนกรุง และคนใต้ รวมทั้งชาวต่างประเทศ หลากหลายภาษา ทั้ง ฝรั่ง ชาวยุโรป เอเซีย ก็มาเดิน.....


“ถนนคนเดิน” หรือ (Walking Street) เป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและการกำหนดใช้พื้นที่เมืองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์พื้นที่ในเมืองซึ่งหลายประเทศได้ดำเนินการ และ “ถนนคนเดิน” ในหลายประเทศก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งรวมงานศิลปะ แหล่งรวมศิลปิน สถานที่ที่ศิลปินอิสระจะได้ใช้เป็นเวทีในการแสดงออกทั้งงานดนตรี วรรณศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติจะต้องแวะมาเยี่ยมเยือน..

ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ หลังจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 ไปยังพิษณุโลก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำปาง ลำพูน ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 695 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งคือจากนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก และลำปาง ถึงเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 696

รถไฟ มีรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 สถานีรถไฟเชียงใหม่ โทร. 0 5324 2094 และ www.railway.co.th นอกจากนี้ ขบวนรถไฟ Orient-Express มีบริการเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นครั้งคราว สามารถสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท ซีทัวร์ จำกัด โทร. 0 2216 5783 หรือที่ www.orient-express.com

รถโดยสารประจำทาง มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 2852 – 66 และที่เชียงใหม่ โทร. 0 5324 1449, 0 5324 2664 หรือดูใน www.transport.co.th บริษัทอื่นที่มีบริการเดินรถ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ได้แก่ ทันจิตต์ทัวร์ โทร. 0 2936 3210, นครชัยแอร์ โทร. 0 2936 3901, 0 2936 3355 นิววิริยะยานยนต์ทัวร์ โทร. 0 2936 2207, สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 3355, สหชาญทัวร์ โทร. 0 2936 2762, สยามเฟิสท์ทัวร์ โทร. 0 2954 3601-7

เครื่องบิน - การบินไทย บริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สำรองที่นั่ง โทร. 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สอบถามรายละเอียด โทร. 1566 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-4 และ www.thaiairways.com - สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-สุโขทัย-เชียงใหม่ โทร. 0 2265 5555, 0 2265 5678 และ www.bangkokair.com - สายการบินนกแอร์ เปิดบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน และ กรุงเทพ-เลย-อุดรธานี-เชียงใหม่ ทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ รายละเอียดสอบถามศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 1318 หรือ www.nokair.com - สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย มีบริการเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สอบถามรายละเอียด โทร.0 2515 9999 หรือ www.airasia.com - สายการบิน เอส จี เอ มีบริการเที่ยวบิน เชียงใหม่ - เชียงราย, เชียงใหม่ - ปาย และ เชียงใหม่ - แพร่ โทร. 0 2664 6099 เว็บไซต์ www.sga.co.th

ท่ารถถนนช้างเผือกมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ในเชียงใหม่
การเดินทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปยังอำเภอต่าง ๆ
-อำเภอเมือง กิโลเมตร

- อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร

- อำเภอสารภ 10 กิโลเมตร

- อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร

- อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร

-อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร

- อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร

- อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร

- อำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร

-อำเภอดอยหล่อ 34 กิโลเมตร

- อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร

- อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร

-อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร

- อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร

- อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร

-อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร

-อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร

- อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร

- อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร

-อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร

-อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร

-อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร

-อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร

- อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร
ที่มา :
http://thai.tourismthailand.org/destination-guide/chiangmai-50-589-1.html

"ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติที่เขาใหญ่"

เขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย มีอาณาเขตรอบคลุม 11 อำเภอ ของ 4 จังหวัด คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนาอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาเย็นหรือดงพญาไฟในอดีตประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของ ต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามมีเนื้อที่ 1,353,471.53 ไร่หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร

ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ราษฎรบ้านท่าด่านและบ้านท่าชัย จังหวัดนครนายก ได้บุกรุกถางป่าปลูกพริกปลูกข้าวบนเขาใหญ่ และจับจองพื้นที่สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บนเขาใหญ่ ประมาณ 30 หลังคาเรือน ต่อมาได้พัฒนายกฐานะเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่กับอำเภอปากพลี ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าทำไร่เลื่อนลอยเพิ่มขึ้นเรื่อย ต่อมากลายเป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้าย และผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญาอยู่เนืองๆ เพราะการคมนาคมยากลำบากห่างไกลแหล่งชุมชนอื่นๆ ยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการในสมัยนั้นจึงยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้านและไร่ที่ทำกินบริเวณป่าเขาใหญ่จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์
ในปี พ.ศ. 2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้ให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมมือและประสานงานกันเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติการการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้เริ่มเตรียมการและวางแผนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก DR.GORE C.RUHLE ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จากประเทศสหรัฐอเมริกา


เมื่อกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจและวางแผนสำเร็จลงแล้ว จึงดำเนินการประกาศจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณ ที่ดินป่าเขาใหญ่ในท้องที่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี ตำบลสาริกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมณีอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา และตำบลหมวกเหล็ก ตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79ตอนที่ 86 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตาราง กิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทยและได้รับสมญานามว่าเป็น “ อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ” ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญของโลก
ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือ ที่ กษ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานีเรดาร์และสถานีถ่ายทดโทรคมนาคม ออกจากพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ ์2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายกจังหวัดนครนายก ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรือ 0.1149 ตารางกิโลเมตร
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในท้องที่อำเภอปากพลี และอำเภอเมือง จังหวัดนครนายกเนื้อที่ 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรือ 3.807 ตารางกิโลเมตร เพื่อก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดแหล่งเก็บกักน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูกร่วมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายก เป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ทำการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องจากพระราชดำริ กรมป่าไม้ จึงได้มี พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ป่าเขาใหญ่บางส่วนในท้องที่ตำบลหินลาดอำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 119ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542


พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแบ่งออกๆ ได้เป็น ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ้งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งมีระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร จากระดับน้ำทะเลประกอบด้วยไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ เช่นมะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง นนทรี ช้อ ปออีเก้ง สมอพิเภก ตะคล้ำ เป็นต้น พืชชั้นล่างมีไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ รวมทั้งกล้วยไม้ด้วย ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟลุกลามเสมอ และตามพื้นป่าจะมีหินปูนผุดขึ้นอยู่ทั่วๆ ไป
ป่าดงดิบแล้ง ลักษณะของป่าชนิดนี้อยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ราบลูกเนินในระดับความสูง 200-600 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ชั้นบนได้แก่ ยางนา พันจำเคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียน หิน ตะแบก สมพง สองสลึง มะค่าโมง ปออีเก้ง สะตอ ๙ก และคอแลน เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรองมี กะเบากลัก หลวงขี้อาย และกัดลิ้นเป็นต้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และ ลานพืชชั้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวกมะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า กล้วยป่าและเตย เป็นต้น
ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จะมีชนิดไม้คล้ายคลึงกับป่าดงดิบแล้ง แต่จะมีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน และกระบาก บริเวณริมลำธารมักจะมีไผ่ลำใหญ่ๆ คือ ไผ่ลำมะลอกขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ป่าดิบชื้นบนที่สูงขึ้นไปจะมียางปายและยางควนนอกจากไม้ยางแล้วไม้ชั้นบนชนิดอื่นๆ ยังมี เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ จำปีป่า พะดง และทะโล้ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อน้ำ ก่อรัก ก่อด่าง และก่อเดือย ขึ้นปะปนกัน
ป่าดิบเขา ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างไปจากป่าดงดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่ขึ้นอยู่เลย พรรณไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ ละสนนามพันปี และก่อชนิดต่างๆ ที่พบขึ้นในป่าดงดิบชื้น นอกจากก่อน้ำและก่อต่าง ๆ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตรเท่านั้น ตามเขาสูงจะพบต้นกำลังเสือโคร่งขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอเพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ต้างผา กำหลังกาสาตัวผู้ กูด และกล้วยไม้ดิน
ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่ เลื่อนลอยในอดีตก่อนมีการจัดตั้งเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติได้มีราษฎรอาศัยอยู่และได้แผ้วถางป่าทำไร่ เมื่อมีการอพยพราษฎรลงไปสู่ที่ราบ บริเวณไร่ดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งต่อมามีสภาพเป็นทุ่งหญ้าคา เสียส่วนใหญ่ บางแห่งมีหญ้าแขมหญ้าขนตาช้าง เลา และตอกง และยังมีกุดชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น โชนใหญ่ กูดปี้ด โชนผี กูดงอดแงด และกูดตีนกวาง
เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่การป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้ามีการป้องกันไฟป่าเป็นอย่างดี พื้นที่ป่าหญ้าหรือป่าเหล่านี้จึงไม่ถูกรบกวนจากไฟป่าเลย ดังนั้นจึงมีพันธุ์ไม้เบิกนำจำนวนไม่น้อย แพร่พันธุ์กระจัดกระจายทั่วไป เช่น สอยดาว บรมือ ลำพูนป่า เลี่ยน ปอหู ตองแตบ ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าทุ้งหญ้าบางแห่งได้กลับฟื้นคืนสภาพเป็นป่าละเมาะบ้างแล้ว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ในบางโอกาสขณะขับรถยนต์ไป ตามถนน จะสามารถเห็นสัตว์ป่าเดินผ่านหรือออกหากินตามทุ่งหญ้า หรืออาจจะเห็นโขลงช้างออกหากินริมถนน บริเวณตั้งแต่ที่ชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 30 จนถึงปากทางข้ามสะพานหนองผักชี ตลอดจนโป่งต้นไทร ในปัจจุบันถ้าขับรถยนต์ขึ้นเขาใหญ่ทางด่านตรวจเนินหอมข้ามสะพานคลองสามสิบไปแล้ว สามารถเห็นโขลาช้างได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน จากการศึกษาตามโครงการการอนุรักษ์ช้างป่าและการจัดการพื้นที่ป้องกัน( EELEPHANT CONSERVATION AND PROTECTED AREA MANAGEMENT )โดย MR.ROBERT J. DOBIAS ภายใต้ความร่วมมือของ WWF และ IUCN ในปี พ.ศ.2527-2528 พบว่ามีจำนวนประมาณ 250 เชือก

แหล่งท่องเที่ยวและจุดเด่นที่น่าสนใจ

เมื่อเดินทางไปถึงอุทยาแห่งชาติเขาใหญ่ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูล ชมนิทรรศการ เป็นทางเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผน เดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญนั้นก็คือน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำตกน้อยใหญ่เกิดขึ้น หลายแห่งในพื้นที่อุทบยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งสำรวจพบและทำเส้นทางเดินเท้าไปถึงแล้วประมาณ 30 แห่งที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป ตามสภาพธรรมชาติของภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

น้ำตกสาริกา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก โดยใช้ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3099 จากจังหวัดนครนายก ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 11 มีทางแยก ให้ตรงไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 304 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสาริกา น้ำตกสาลิกาไหลตกมาจากหน้าผาสูงชันประมาณ 100 เมตร มีแอ่งน้ำให้เล่นได้ตั้งแต่น้ำตกชั้นล่าง เป็นต้นไป

น้ำตกนางรอง อยู่ถัดจากทางแยกเข้าน้ำตกสาลิกาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 304 จนถึงทางเข้าน้ำตก แล้วเดินเลียบห้วยนางรองไปอีก 250 เมตร จะมีสะพานข้ามห้วยไปถึงน้ำตกซึ่งไหลหลั่นลงมาตามโขดหินเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร น้ำตกนางรองแต่ละชั้นไม่สูงมากนัก แต่กระแสน้ำไหลแรง

น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสมสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนข้ามลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแหล่งนี้อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 100 เมตร

น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่อยู่ในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า ทางเดินเริ่มจากจุดกางเต็นท์ผากล้วยไม้ไปประมร 1.2 กิโลเมตร โดยเดินเลียบตามห้วยลำตะคองที่เต็มไป ด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม มีโอกาสพบนกหลายชนิด เช่น นกกางเขนน้ำหลังเทา นกกระรางคอดำ นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ ฯลฯ

น้ำตกผากกล้วยไม้ มีลักษณะเป็นหน้าผาลดหลั่นกันลงมา สูงประมาร 10 เมตร ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างมาก เหมาะสมสำหรับเล่นน้ำ ตามหน้าผาและคบไม้บริเวณน้ำตก พบกล้วยไม้นานาชนิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

กล้วยไม้ที่โดดเด่นที่สุด คือ หวายแดง ที่จะออกดอกสีแดงเป็นช่อยาวในช่วงหน้าร้อน
น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป


น้ำตกเหวสุวัต นี้ อยู่สุด ถนนธนะรัชต์ หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากกล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็น สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาร 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรง น้ำค่อนข้างเย็นจัด

น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุด อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาร 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะการไหลตก 90 ? รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง ในฤดูฝนน้ำจะไหลแรงมากจนน่ากลัว ทางเข้าน้ำตกเหวนรกอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 24 บนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3077 จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร จึงจะถึงน้ำตก เหวนรกชั้นบนสุดและมีบันไดให้ไต่ลงไปประมาณ 100 เมตร เพื่อชมน้ำตกชั้นล่าง

น้ำตกไม้ปล้อง เป็นน้ำตกที่มีทั้งหมด 5 ชั้น ไหลลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุกไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำตกเหวสุวัต จะพบความงามตลอดเส้นทางเดินเท้า ประกอบด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธาร ที่สวยงาม การเดินทางไปยังน้ำตกแห่งนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ โดยการเดินทางตาเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร

น้ำตกวังเหว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความกว้างประมาณ 40-60 เมตร ในฤดูฝนมีน้ำมาก และไหลแรง อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่) ประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ในกลางป่าทางด้านทิศตะวันอกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การเดินทางจะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 วัน เหมาะสมสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยไปพักค้างแรมในป่าเป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาของการเดินทางจะพบหับพันธุ์ไม้นานาชนิด และแก่งหินที่สวยงามตามธรรมชาติ นับเป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได น้ำตำส้มป่อย เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสมสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ

น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ไหลมาตามลานหินกว้างเป็นทางยาว จากนั้นสายน้ำจะไหลผ่านช่องเขาแคบที่ขนาบข้างก่อนตกลงเป็นน้ำตกสูง 5 เมตร จากน้ำตกธารทิพย์มีทางเดินป่าไปอีกื4 กิโลเมตร ถึง น้ำตก

เหวอีอ่ำ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งมีความสูงประมาณ 25 เมตร ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม)

น้ำตกแก่งกฤษณา และน้ำตกเหวจั๊กจั่น เป็นน้ำตกขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีความงดงาม ไม่แพ้แห่งอื่นๆ เหมาะสมสำหรับการพักแรมในป่าและชมทิวทัศน์ธรรมชาติรอบกายอย่างเพลิดเพลินใจ

น้ำตกผากกระชาย น้ำตกผาไทร ผาด่านช้าง และน้ำตกผานะนาวยักษ์ เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเด้ ลักษณะไหลลาดไปตามผาหินที่สูงขึ้น เหมาะสมสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.3(ตะเคียนงาม) ประมาณ 5 กิโลเมตร

น้ำตกเหวไทร เป็นน้ำตกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ทางใต้ถัดไปจากน้ำตกเหวสุวัต ห่างจากน้ำตกเหวสุวัตมาประมาณ 700 เมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นผากว้างเต็มลำห้วย สูงประมาณ 5 เมตรในฤดูฝนน้ำตกนี้จะไหลแรงเต็มหน้าผาสวยงามน่าชมมาก การเดินทางไปน้ำตกเหวไทรไปได้ 2 เส้นทาง คือ เดินเท้าต่อไปจากเหวสุวัตระยะทางประมาณ 700 เมตร หรือจะเดินจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ไปตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัตก็ได้ ระยะทางประมาณ 8.3 กม. ตามสองข้างทางเดินที่ผ่านไปจะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สมุนไพร และเห็ดป่า เป็นต้น

น้ำตกเหวประทุน เป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งหนึ่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ สามารถเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินทางเส้นกองแก้วเหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถพบร่องรอยของสัตว์ป่าได้ง่าย เช่น รอยหมูป่า ด่านช้าง น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างและสูงสวยวามมาก

น้ำตกตาดตาภู่ น้ำตกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เกิดจากห้วยระย้าเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลาดหินที่มีน้ำไหลลดหลั่นเป็นทอดลาดเอียงไปข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักค้างแรมในป่าระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆ น้ำตกจะมีทุ้งหญ้าสลับกับป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำ ได้แก่ เก้ง กวางป่า ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

น้ำตกตาดตาคง เป็นน้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด้านหลังจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติ ก็ได้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือ จะเริ่มที่ กม. 5.5 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร
กลุ่มน้ำตกผาตะแบก น้ำตกกลุ่มนี้เป็นน้ำตกขนาดไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือ


น้ำตกผากระจาย และเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตก ผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสินประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

แก่งหินเพิง เป็นแก่งหินที่มีความยาวและใหญ่ อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่๗ ประมาณ 3 กิโลเมตร แม่น้ำใสใหญ่ในบริเวณนี้เต็มไปด้วยแก่งหินเรียงรายตลอดระยะทาง 2.5 กิโลเมตร สายน้ำไหลลดหลั่นกันคล้ายขั้นบันได เป็นสถานที่ที่เหมาะในการล่องแก่งด้วยเรือยาง

จุดชมทิวทัศน์
จุดชมทิวทัศน์ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่เด่นๆ มีด้วยกัน 3 จุดดังนี้
• จุดชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์ สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม
• จุดชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 18 ถนนปราจีนบุรี-เขาใหญ่ เบื้องหลังคือเขาสมอปูน ในมุมที่สูงตระหง่าน เบื้องหน้าคือที่ราบด้านปราจีนบุรี
• จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่สวยงาม เส้นทางถึงยอดเขาเขียวมีระยะประมาณ 14 กิโลเมตร ช่วงกิโลเมตรที่ 9 มีเส้นทางลงสู่จุดชมทิวทัศน์ผาเดียวดาย ผ่านป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและอากาศเย็นตลอดปีตามต้นไม้และโขดหินมีมอสและตะไคร่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป บริเวณนี้ จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวทางบ่วงเล็ก เป็นต้น


หอดูสัตว์
เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เวลา 06.00- 18.00 น. จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
• หอดูสัตว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณ กม. 35-36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
• หอดูสัตว์มอสิงโต อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสมสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ประมาณ 500 เมตร
นอกจากนี้ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ยังได้จัดให้มีหอดูสัตว์ชมกระทิง โดยอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้า ติดชายป่า เชิงสันเขากำแพงมีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดูสัตว์นี้ได้ชัดเจน


การเดินทาง
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับว่าสะดวกสบาย เพราะมีระบบการคมนาคมอย่างดีติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ อย่างทั่วถึง สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯอาจใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง หรือน้อยกว่าโดยเริ่มจาก
• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิตถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนมิตรภาพผ่านมวกเหล็กและเลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งตรงทางแยกก่อนถึงอำเภอปากช่องตรงกิโลเมตรที่ 58 เข้าสู่หลวง จังหวัดหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์) ประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจ จากนั้นเส้นทางจะไต่ขึ้นเขาไปอีก 12 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแงชาติ รยางค์รวมทั้งสิ้น 200 กิโลเมตร
• ถนนพหลโยธินผ่านรังสิต ผ่านหนองแค 305 แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ผ่านตัวเมืองนครนายกถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวรก่อนเข้าตัวเมืองปราจีนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง จังหวัดหมายเลข 3077 (ถนนปราจีนบุรี – เขาใหญ่) ถึงด่านตรวจเนินหอม ถนนเริ่มเข้าสู่ป่าและไต่ขึ้นที่สูง รวมระยะทางประมาร 160 กิโลเมตร
• ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิตเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 มุ่งสู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร)ถึงสี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
หรืออาจเดินทางโดยรถประจำทางสายตะวันออกเฉียงเหนือลงที่อำเภอปากช่อง จะมีรถบริการขึ้นเขาใหญ่ออกจากปากช่องในวันธรรมดันละ 2 เที่ยว คือ 12.00 น. และเวลา 17.00 น. หรืออาจจะจ้างเหมารถบรรทุกเล็กรับจ้างขึ้นเขาใหญ่ก็ได้ ด่านตรวจทั้งสองด้านของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะเปิดเวลา 6.00น. ถึง 21.00 น

"ตลาดน้ำดอนหวาย"



ตลาดน้ำดอนหวายตลาดน้ำดอนหวาย
ชื่อนี้หลายคนคงรู้จัก โดยเฉพาะผู้ที่เคยลิ้มลองเป็ดพะโล้นายหนับที่ขึ้นชื่อ และถือว่าเป็นพระเอกของตลาดน้ำดอนหวายที่ทำให้ใครต่อใครต้องเดินทางมาชิม จากที่เคยขายกันวันละไม่กี่ตัว ก็กลายมาขายวันละนับร้อยๆตัวในปัจจุบันเมื่อราว 7- 8 ปีก่อน หรือราว พ.ศ 2542 - 43 หากใครได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองก็คงจะเห็นการเริ่มต้นความนิยมของตลาดน้ำดอนหวายได้อย่างชัดเจน ว่ามาจากสื่อโทรทัศน์ที่มีโอกาสไปทำรายการและแนะนำรายการอาหารเมนูอร่อยของตลาดดอนหวาย ีหลังจากที่ออกอากาศไปไม่นาน ก็ยังมีรายการอื่นๆตามมาทำรายการกันไม่ขาดสาย จนตลาดน้ำดอนหวายเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ โดยที่ทางจังหวัดไม่ต้องออกแรงประชาสัมพันธ์แต่อย่างใดจากจุดเริ่มต้นที่มีสื่อไปทำรายการสารคดีเชิงนิเวศน์ในช่วงนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศกำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากประสบกับมรสุม ที่เรียกว่า IMF ทำให้สังคมไทยหันมานิยมดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย และใช้จ่ายอย่างประหยัด
ตลาดวิถีไทย
ตลาดน้ำดอนหวาย ซึ่งเป็นตลาดอาหารไทย และขนมไทยแบบดั่งเดิมได้เข้ามาในช่วงจังหวะนั้นพอดี จึงได้กับการตอบรับจากผู้คนอย่างรวดเร็ว จนเรียกได้ว่าดังเป็นพลุแตก คนที่มาเที่ยวต่างติดใจในรสชาติอาหารไทยที่มีอยู่หลากหลาย และขนมไทยนานาชนิด พร้อมกับได้อุดหนุนสินค้าเกษตรกรรมของท้องถิ่นในราคาแบบชาวบ้าน ทำให้เกิดกระแสปากต่อปาก หากเปรียบเป็นว่าวก็ถือว่าปัจจุบัน ตลาดน้ำดอนหวายติดลมบนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถพึ่งตัวเองได้อย่างสบายๆ โดยไม่ต้องให้ใครมาช่วยประชาสัมพันธ์ นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศต่างให้ความสนใจกันมากมายนอกจากได้ลิ้มลองอาหารนานาชนิดและซื้อของฝากที่มีอยู่มากมายแล้ว ก็ยังมีโปรแกรมล่องเรือชมวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำที่ไม่ควรพลาด เพราะจะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยริมแม่น้ำท่าจีน ปลูกผักบุ้ง และผักที่ขึ้นบนน้ำชนิดต่างๆ เรียกได้ว่าเกือบตลอดระยะทางที่เรือผ่าน เป็นการใช้พื้นที่หน้าบ้านให้เป็นประโยชน์ นั่งเรือผ่านไปก็จะเห็นชาวบ้านพายเรือเก็บ ผักบุ้งเป็นระยะๆ เป็นการปลูกโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงใดๆทั้งสิ้นร้อนนี้หากใครกำลังคิดออกไปเที่ยวนอกเมืองที่ไม่ห่างจากกรุงเทพมากนัก และอยากเห็นภาพธรรมชาติที่เย็นตาเย็นใจ พร้อมกับทานอาหารไทยๆแบบดั่งเดิมที่หาทานยากในที่อื่นๆแล้ว ก็อยากแนะนำให้มาที่ตลาดน้ำดอนหวาย แหล่งรวม ของกิน ของฝาก ที่อาจต้องขนใส่รถกันเลยทีเดียว
อาหารแนะนำ
อาหารที่อยากแนะนำที่ตลาดน้ำดอนหวายก็ได้แก่ เป็นพะโล้นายหนับ (เขียนมาถึงตรงนี้แล้วก็น้ำลายไหล) ต้มเค็มปลาทูหรือต้มเค็มปลาตะเพียนที่มีอยู่หลายร้าน ทั้งหัวทั้งก้าง เปื่อยยุ่ยจนทานได้ทั้งตัว นอกจากนี้ก็มีขนมจีนน้ำยากะทิ น้ำยาป่า ห่อหมกปลาช่อนที่อร่อยถึงเครื่องถึงกะทิ และทอดมันปลากรายของแท้ไม่ได้ปนหรือผสมเนื้อปลาชนิดอื่นๆ ส่วนขนมก็มีขนมไทยๆนานาชนิดที่รับประกันความอร่อยเกือบทุกร้าน ชนิดทานกันไม่หวัดไม่ไหว ยังไงก็อย่าชิมจนอิ่มท้องเสียก่อน เพราะจะทำให้ทานข้าวได้น้อยลง
ของฝาก
พวกของฝาก ของซื้อกลับบ้านก็มากมาย เช่นปลาแดดเดียว ปลาแห้ง ปลาย่างชนิดต่างๆ หรือคนที่ชอบเข้าครัวก็จะมีพวกน้ำพริกแกงที่ตำกับมือ พึ่งทำกันใหม่ๆสดๆ เช่นน้ำพริกแกงเผ็ด แกงส้ม ฯลฯ ส่วนของฝากที่เป็นผลไม้ของท้องถิ่น ประเภท มะเฟือง มะไฟ มะพร้าว ส้มโอ ที่นี่มีครบ มะพร้าวน้ำหอมก็ขึ้นชื่อและหอมจริงๆ ส้มโอนครชัยศรีก็อร่อยคุ้นลิ้นมานาน แถมราคาถูกอีกต่างหาก พูดง่ายๆว่าหากมาเที่ยวที่นี่แล้วก็ควรเคลียร์ท้ายรถให้เรียบร้อยก่อนเดินทาง รับประกันว่าตอนขากลับท้ายรถไม่ว่างแน่ล่าสุดที่ไปเที่ยวเมื่อเดือนมกราคม 2550 ปรากฏว่ามีร้านค้ารายอาหารเปิดใหม่กันมากมาย จากที่ขายตามทางเดินเมื่อปี2544 ปัจจุบันได้ขยายไปอีกเป็นระยะทางที่ไกลมาก จนจุดที่จะเข้าตลาดดอนหวายสามารถเข้ามาได้หลายจุด อาจทำให้คนที่เคยมาเที่ยวสับสนได้ ยังไงก็แนะนำว่า พยายามยึดเอาทางเข้าวัดดอนหวายเป็นหลักก็แล้วกัน หากลานจอดรถในวัดเต็มก็ยังมีลานจอดรถของเอกชนรายอื่นๆอีกมากมาย จึงไม่ต้องกังวลเหมือนเมื่อก่อนที่ต้องจอดแอบตามริมทาง และตากแดดกันครึ่งวันค่อนวันสิ่งที่อยากฝากไว้ในตอนท้ายก็คือว่า ตลาดน้ำดอนหวายมีผู้คนมาเที่ยวนับหมื่นๆคนในแต่ละวัน และยิ่งเป็นวันหยุดก็ยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปอีก จึงควรวางแผนการเดินทางกันให้ดี แต่ถ้าเป็นไปได้แล้วก็ควรหลีกเลี่ยงเดินทางในวันหยุด ตลาดน้ำดอนหวายอยู่ห่างจากวัดไร่ขิงประมาณ 3-4 กม.(คะเนด้วยสายตาขณะขับรถ) และเป็นวัดที่โด่งดังของจังหวัดนครปฐม ที่คนเมืองหลวงรู้จักกันดี หากมีเวลาพออาจแวะทำบุญทำทานเพื่อเป็นศิริมงคลก่อนกลับบ้าน


"อัมพวา ตลดน้ำยามเย็น"


ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้ ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น" สิ่งที่น่าสนใจ
ตลาดน้ำยามเย็น จะมีทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.00 -22.00 น.วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น.
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ล่องเรือชมหิ่งห้อย
นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน หรือล่องเรือท่องเที่ยวตามลำน้ำแม่กลอง ก็สามารถติดต่อเรือได้ ติดต่อ โทร.089-4154523
การเดินทาง ทางรถยนต์
จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน ร.2 ประมาณ 6 กม ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ 800 เมตร. ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา
รถประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้ รถสาย 996 กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ เป็นรถปรับอากาศ ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา สาย 976 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ถึงตลาดอัมพวา

"นมัสการเจ้าแม่กวนอิม 32 ปาง"


สถานที่ : ตำหนักพระแม่กวนอิม เขตลาดพร้าว
ศาลเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.2526 โดยพระอาจารย์ใหญ่กวงเซง เป็นพุทธศาสนสถานฝ่ายมหาชน การปฏิบัติของผู้ถือศีลภายในวัดมีกฎระเบียบเคร่งครัดมาก ผู้ที่มาบวชต้องฉันอาหารเจตลอดชีวิตและสึกไม่ได้ ต้องตั้งใจแน่วแน่ที่จะสละชีวิตทางโลก เข้าหาทางธรรมเพื่อศึกษาและมุ่งในการปฏิบัติธรรมตัวตำหนักเจ้าแม่กวนอิมสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน บริเวณลานด้านหน้าตำหนักมีอาคารสุขาวดี เก๋งเทพเจ้าฟ้าดินและเสามังกร ส่วนที่เก๋งใหญ่นั้นประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ประทับเสี่ยมซู้(คางคก) และเจ้าชายอั้งไฮ้ยี้โพธิสัตว์ ส่วนอื่นๆ ภายในตำหนักประดิษฐานเทวรูปตามคติจีนและพระพุทธรูปจำนวนมาก เช่น เจ้าแม่กวนอิม 12 ราศี เจ้าแม่กวนอิม 32 ปาง พระถังซำจั๋ง เอียงเอี้ยงไต้ซือ เป็นต้น นอกจากนี้ภายในบริเวณตำหนักยังมีโรงเจและตึกวิปัสสนาสำหรับประกอบพิธีของผู้ที่มาปฏิบัติธรรมอีกด้วยเจ้าแม่กวนอิมคือใคร ?เจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพแห่งความเมตตากรุณา ปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่สัตว์โลกทั้งปวง นับเป็นเทพที่ชาวจีนให้ความเดารพนับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง ตามประวัติเล่าว่า แต่เดิมนั้นเจ้าแม่กวนอิมเป็นเจ้าหญิงของกษัตริย์จีน พระองค์ถูกบังคับให้แต่งงาน จึงหนีออกจากวังพร้อมทั้งปลดปล่อยเชลยที่ถูกทรมาน ระหว่างทางได้มีประชาชนที่ถูกกดขี่ติดตามหนีไปด้วยเป็นอันมากเมื่อกองทัพของพระบิดาไล่ตามทันก็เกิดสะพานทิพย์ทอดให้พระธิดาและผู้ลี้ภัยทั้งหมดรอดพ้นอันตราย ต่อมาพระบิดาประชวรหนัก แพทย์หลวงทูลว่าต้องใช้ลูกตาและแขนของหญิงพรหมจรรย์มาทำยาพระธิดาก็ยอมสละให้ด้วยแรงกตัญญู พระบิดาจึงหายประชวรดังปาฏิหาริย์ ผลแห่งความเสียสละและความเมตตาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ทำให้ประชาชนพากันเลื่อมใส และพระองค์ก็กลายเป็นเทพองค์หนึ่งนับแต่นั้นมา
ที่อยู่ : 4/37 ซ. สุขสันต์ 7 ถ. ลาดพร้าว 53 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ : (622) 539-3951, 514-0715โทรสาร : (662) 538-8178
รถประจำทาง : 8 27 44 92 122 126 137 145รถปรับอากาศ : 92 137 145 502 514 524 545 ปอ.พ.15 20เวลาทำการ : ทุกวัน 7.00-21.00 น.ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียมกิจกรรม เทศกาล : เทศกาลตรุษจีน (ปลาย ม.ค.-ก.พ.)เทศกาลกินเจ งานแห่งพระแม่กวนอิม (หลังเทศกาลตรุษจีน 9 วัน)
ที่จอดรถ : บริเวณด้านหน้าตำหนักสถานที่ใกล้เคียง : วัดลาดพร้าว

"ตำนานรักแม่นาคพระโขนง"

สถานที่ : วัดมหาบุศย์
เขตสวนหลวงวัดโบราณริมคลองพระโขนงแห่งนี้สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาเรียกว่า “วัดมหาบุตร” ตามชื่อพระมหาบุตรผู้นำในการบูรณะวัดขึ้นใหม่ ภายหลังเขียนเป็น “มหาบุศย์” ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดแม่นาคพระโขนง” เพราะภายในวัดเป็นที่ตั้งของศาลแม่นาคพระโขนงหรือย่านาค ตำนานผีไทยที่เล่าขานกันมานานนับร้อยปี ปัจจุบันมีผู้คนทางไปกราบไหว้ย่านาคอยู่เป็นประจำ ภายในศาลย่านาคจึงเต็มไปด้วยของไหว้ ทั้งพวงมาลัยและชุดไทยตำนานความเฮี้ยนของผีแม่นาคพระโขนงเกิดขึ้นที่ริมคลองพระโขนง เล่าต่อกันมาว่า ณ ที่นั้นมีเรือนหลังเล็กของแม่นาคกับทิดมาก ในช่วงที่แม่นาคตั้งท้อง บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ทิดมากถูกเรียกไปเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนแม่นาคต้องอยู่บ้านตามลำพัง แม่นาคสิ้นใจตายขณะคลอดลูก ด้วยความรักความผูกพัน แม่นาคเฝ้ารอจนทิดมากกลับมาและอยู่กินด้วยกัน ต่อมาเมื่อทิดมากรู้ว่านางนาคเป็นผีตายทั้งกลม จึงตัดสินใจไปอาศัยอยู่ที่วัดมหาบุศย์ ผีนางนาคโกรธมาก จึงได้ออกอาละวาด หลอหหลอนผู้คนให้หวาดกลัว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รู้เหตุปีศาจนางนาคกำเริบ จึงลงไปปราบแล้วเจาะเอากระดูกหน้าผากศพนางนาคมาทำหัวปั้นเหน่งคาดเอวติดตัวตลอด ผีนางนาคจึงสงบลงได้นั่งเรือเที่ยวคลองประเวศบุรีรมย์ในคลองประเวศบุรีรมย์มีเรือหางยาววิ่งประจำทางจากท่าเรือพระโขนงถึงตลาดเอี่ยมสมบัติใต้สะพานศรีนครินทร์ (เลยวัดขจรไปไม่ไกล) เรือมีบริการทุกวัน ตั้งแต่เช้า-ค่ำ ถ้าต้องการเหมาเรือก็สามารถทำได้เริ่มต้นเส้นทางจากท่าน้ำพระโขนง ล่องไปตามคลองพระโขนงเข้าคลองประเวศบุรีรมย์ที่เชื่อมต่อกัน ในช่วงแรกของเส้นทางลำคลองจะคดเคี้ยวเพราะคลองพระโขนงเป็นคลองธรรมชาติ จึงไม่ตรงดิ่งเหมือนคลองประเวศบุรีรมย์ซึ่งขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดเส้นทางจะผ่านวัดและมัสยิดหลายแห่ง สำหรับกลุ่มมุสลิมนั้นอพยพมาจากเมืองปัตตานีในสมัยรัชกาลที่ 3 นับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดในแถบนี้ เส้นทางล่องเรือจะไปสิ้นสุดที่วัดกระทุ่มเสือปลา ที่นี่มีหุ่นขี้ผึ้งพระเกจิชื่อดัง สักการะเพื่อเป็นสิริมงคลแล้วจึงเดินทางกลับ

ที่อยู่ : 749 หมู่ที่ 11 ซ. อ่อนนุช 7 ถ. สุขุมวิท 77 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250โทรศัพท์ : (662) 311-2183, 311-0543

รถประจำทาง : 1013 รถเมล์เล็กปาก ซ. สุขุมวิท 77รถปรับอากาศ : 519ท่าเรือ : เรือโดยสาร: ท่าวัดมหาบุศย์ (คลองประเวศบุรีรมย์-พระโขนง)

เวลาทำการ : บริเวณวัด: ทุกวัน 5.30-17.00 น.โบสถ์: วันธรรมดา 6.30-17.00 น.วันพระ 4.00-17.00 น.ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียมกิจกรรม เทศกาล : งานประจำปีที่จอดรถ : บริเวณภายในวัดสถานที่ใกล้เคียง : วัดใต้ วัดทองใน วัดยาง สน.บางนา สน.พระโขนงวัด
ถ่ายรูปได้ที่มา : กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

"ตำหนักทองพระเจ้าเสือ"

สถานที่ : วัดไทร
เขตจอมทองวัดไทรเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นเดียวกับอีกหลายวัดในย่านนี้วัดไทรได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ตามลำดับ สิ่งมีค่าและควรชมภายในวัดนี้ที่หลายคนมองข้ามไปคือตำหนักทองเรือนไทยเก่าแก่ริมคลองด่านนี้เป็นหลักฐานหนึ่งที่ช่วยยืนยันความเก่าแก่สมัยอยุธยาของวัด เชื่อกันว่าพระเจ้าเสือโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อนเป็นที่ประทับระหว่างเสด็จประพาสทางทะเลผ่านลำคลองสายนี้ ภายหลังทรงอุทิศให้เป็นกุฏิสงฆ์ ลักษณะเป็นเรือนไทยชั้นเดียวขนาด 3 ห้อง ยาว 4 วา 1 ศอก ใต้ถุนสูง มีช่อฟ้ารูปหัวครุฑ ฝาผนังลงรักปิดทองทั้งด้านนอกและด้านใน จึงเรียกว่าตำหนักทอง ปัจจุบันตำหนักทองได้รับการบูรณะจนมีสภาพดี แต่ลายทองนั้นลบเลือนไปมาก

ที่อยู่ : 11 หมู่ 2 ซ.ถาวรวัฒนา ถ.เอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150โทรศัพท์ : (662) 415-7173, 415-1926แฟกซ์ : (662) 415-7173

รถประจำทาง :10 43 120รถปรับอากาศ : Mb9ท่าเรือ :1. เรือหางยาวรับจ้าง:ท่าราชินี (ปากคลองตลาด)<->ท่าช้าง2. ท่าสะพานพุทธ ท่าสี่พระยา3. ท่าโอเรียลเต็ล ฯลฯ<->ท่าวัดไทรเวลาทำการ :บริเวณวัด
: ทุกวัน 5.00-20.00 น.โบสถ์ : ทุกวัน 8.00-8.30 น. (เข้าชมโบสถ์ควรโทรแจ้งล่วงหน้า)ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียสมกิจกรรม-เทศกาล :เทศกาลสงกรานต์(13เม.ษ.)งานทำบุยอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเจ้าอาวาส(20 ต.ค.)ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน : 1962ถ่ายรูปได้ : ภายในอาคารต้องขออนุญาตสถานที่จอดรถ : บริเวณภายในวัดสถานที่ใกล้เคียง : วัดราชโอรสาราม วัดหนัง วัดนางนอง ตลาดน้ำวัดไทร

ที่มา : กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร