วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"หนองคาย เมืองบั้งไฟพญานาค"


ข้อมูลทั่วไป :
หนองคาย เมืองชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นประตูสู่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเชื่อมระหว่างสองประเทศจังหวัดหนองคายอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 615 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงมากที่สุดเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและประมงน้ำจืด ทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถเดินทางข้ามไปเที่ยวยังฝั่งลาวได้โดยสะดวก มีวัดวาอารามและวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจ โรงแรมที่พักที่สะดวกสบาย หลากหลายไปด้วยอาหารและสินค้าของฝาก ล้วนเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเยือนเมืองริมโขงแห่งนี้

ภูมิอากาศ
เนื่องจากจังหวัดหนองคาย มีภูมิประเทศ ติดกับแม่น้ำโขง ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ในฤดูหนาว ราวเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์จะมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเมษายน อากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส

หนองคาย เมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก
นิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐอเมริกา จัดให้หนองคายเป็นเมืองน่าอยู่ลำดับที่ 7 ของโลก สำหรับคนวัยเกษียณชาวอเมริกัน จากการสำรวจ 40 เมืองทั่วโลก โดยอาศัยตัวชี้วัด 12 ตัว คือ ภูมิอากาศ ค่าครองชีพ วัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค การคมนาคม บริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม กิจกรรมนันทนาการ ความปลอดภัย ความมั่นคงทางการเมือง และการเข้าถึงเทคโนโลยี

ประวัติเมืองหนองคาย
ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง
อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุดรธานี, สกลนคร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเลย

การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย รวมระยะทาง 615 กิโลเมตร

ทางรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

ทางรถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศไปหนองคาย ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 (จตุจักร) โทร. 0 2936 2852-66 นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดหนองคาย เช่น 407 พัฒนา โทร. 0 2992 3475-8 , 0 4241 1261 ชาญทัวร์ จำกัด โทร. 0 2618 7418, 0 4241 2195 บารมีทัวร์ โทร. 0 2537 8249, 0 4246 0345 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 2936 0253 , 0 4246 1067 http://www.transport.co.th/

ทางเครื่องบิน
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. 1566,0 2628 2000 , 0 2356 1111 www.thaiairways.com หรือ สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/

การคมนาคมภายในตัวจังหวัด จ.หนองคาย
นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถเช่าของบริษัทนำเที่ยวซึ่งมีมากมายในตัวเมือง หรืออาจใช้บริการรถสามล้อเครื่องที่เรียกกันว่า สกายแล็ป ไปยังจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ ในตัวเมืองและใกล้เคียง เช่น ตลาดท่าเสด็จ วัดโพธิ์ชัย ศาลาแก้วกู่ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จากสถานีขนส่งหนองคายมีรถโดยสารสายหนองคาย-เลย วิ่งผ่านอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคม และอำเภอเชียงคานของจังหวัดเลย ซึ่งเป็นเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง ในอำเภอเหล่านี้จะมีที่พักแบบเกสต์เฮ้าส์สำหรับบริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหนองคาย-นครพนม ด้วย

การเดินทางจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอ -กิโลเมตรอำเภอสระใคร 26 กิโลเมตรอำเภอท่าบ่อ 42 กิโลเมตร อำเภอบุ่งคล้า 181 กิโลเมตร อำเภอโพนพิสัย 45 กิโลเมตร อำเภอศรีเชียงใหม่ 57 กิโลเมตรอำเภอรัตนวาปี 71 กิโลเมตร อำเภอเฝ้าไร่ 71 กิโลเมตร อำเภอโพธิ์ตาก 77 กิโลเมตรอำเภอปากคาด 90 กิโลเมตรอำเภอสังคม 95 กิโลเมตร อำเภอโซ่พิสัย 90 กิโลเมตรอำเภอบึงกาฬ 136 กิโลเมตรอำเภอศรีวิไล 163 กิโลเมตร อำเภอพรเจริญ 182 กิโลเมตรอำเภอเซกา 228 กิโลเมตร อำเภอบึงโขงหลง 238 กิโลเมตร

การเดินทางจากหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง
นอกจากรถโดยสารสายหนองคาย-กรุงเทพฯแล้ว จากสถานีขนส่งหนองคายยังมีบริการรถโดยสารสายหนองคาย-ระยอง (มีทั้งรถปรับอากาศและธรรมดา) รถธรรมดาสายหนองคาย-เลย และหนองคาย-อุดรธานี ติดต่อสถานีขนส่งหนองคายโทร. 0 4241 1612
ส่วนรถไฟมีรถออกจากสถานีหนองคายไปยังอุดรธานี ขอนแก่น และกรุงเทพฯ วันละประมาณ 3 เที่ยว ติดต่อสถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
ระยะทางจากหนองคายไปจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้
อุดรธานี 51 กิโลเมตรเลย 202 กิโลเมตรสกลนคร 210 กิโลเมตร นครพนม 303 กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารท่องเที่ยว

- ททท. โทร. 0 4242 1326(อยู่ภายในบริเวณศูนย์ราชการ จ.หนองคาย)

-สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 4241 1021, 0 4241 1071

-โรงพยาบาลหนองคาย

-โทร. 0 4241 3456-8โรงพยาบาลหนองคาย-วัฒนา

-โทร. 0 4246 5201สถานีขนส่ง บ.ข.ส.

-โทร. 0 4241 1612ประชาสัมพันธ์จังหวัด

-โทร. 0 4241 2110สำนักงานจังหวัด

-โทร. 0 4241 1778ด่านศุลกากร

- โทร. 0 4241 1518, 0 4242 1207กองกำกับการตรวจคนเข้าเมือง

-โทร. 0 4241 1605สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1637 , 0 4241 1592


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น