วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"ไปดูกันว่าภาคกลางเค้ามีไรน่าเที่ยวบ้าง"



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วังจันทรเกษมหรือวังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ วังจันทรเกษมปรากฎหลักฐานพงศาวดารว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประมาณ พ.ศ. 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ฯลฯ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยาและโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2436 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่าเมื่อ พ.ศ. 2442 และจนกระทั่งเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าจึงได้จัดสร้างอาคาร ที่ทำการภาคบริเวณกำแพง ทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจาก พระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคาร ที่ทำการภาคในขณะนั้น กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมจนกระทั่งปัจจุบัน โบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้กำแพงและประตูวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม4 ด้านเป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 กำแพงของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านใน และพบซากอิฐในบริเวณเรือนจำหลายแห่ง แต่เดิมนั้นคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า วังจันทรเกษมมีกำแพง 2ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เป็นพลับพลาเครื่องไม้ มีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 3 มุข เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เวลาเสด็จประพาส ต่อมาในปีพ.ศ. 2449 พระองค์ทรงโปรดให้ใช้พลับพลาจตุรมุข เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ เรียกว่าอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระยาโบราณราชธานินทร์ได้ทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่และเปลี่ยนหน้าบันจากรูปปูนปั้นมาเป็นไม้แกะสลัก ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้เช่น พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์ พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวังประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยาและศาลาเชิญเครื่อง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันจัดแสดง ประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์สมัยต่างๆ และเครื่องไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง เป็นหอสูงสี่ชั้น สร้างครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามรากฐานอาคารเดิมและทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาวอาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ริมกำแพงหลังพระที่นั่งพิมานรัตยาตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือตึกที่ทำการภาค สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวสร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ เรื่องศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปะวัตถุพุทธบูชาและวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่าระเบียงจัดตั้งศิลาจารึก แต่เดิมสร้างเป็นระเบียงหลังคามุงสังกะสียาวไปตามแนวกำแพงด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกใช้สำหรับเป็นที่เก็บรักษาบรรดาโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้รวบรวมไว้การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา เมื่อข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีกครั้งและตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะผ่านตลาดเจ้าพรหม จากนั้นจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 180 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมสอบถามรายละเอียดเพิ่ม

เติมที่โทร. 0 3525 1586, 0 3525 2795 โทรสาร 0 3525 1586
window.google_render_ad();




อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประวัติความเป็นมา หว้ากอ...เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พระองค์ทรงใช้พระปรีชาสามารถนำความรู้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ นำการเมืองทำให้ประเทศชาติปลอดภัย ไม่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจคณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าฯและในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2536อาคารดาราศาสตร์
อาคารดาราศาสตร์
ประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน คือ อาคารพันทิวาทิต พันพินิจจันทรา ดาราทัศนีย์ มีฐานการเรียนรู้ 11 ฐานการเรียน ได้แก่ บันทึกเกียรติยศ, โลกอนาคต, เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ, โลกของเด็ก, ฟากฟ้า ณ หว้ากอ, พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, มนุษย์กับดวงดาว, พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ไทยกับดาราศาสตร์, รวมใจชาวประจวบ, ความเป็นไปในจักวาลและเทคโนโลยีอวกาศและเอกภพพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ สัมผัสกับมหัศจรรย์โลกใต้น้ำ มีทั้งสีสันความสวยงามของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มในมิติใหม่ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ
ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน คือ ส่วนอัศจรรย์โลกสีคราม, ส่วนจากขุนเขาสู่สายน้ำ, ส่วนสีสันแห่งท้องทะเล, ส่วนเปิดโลกใต้ทะเล, ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและส่วน
กิจกรรมปฏิบัติการกิจกรรมค่ายหว้ากอ
1. พบกับบรรยากาศแบบสบายๆ เป็นกันเอง ได้ทั้งความรู้ความสนุกสนาน ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสามัคคี การตรงต่อเวลาและอื่นๆ อีกมากมาย
2. พบกับกิจกรรมหลากหลาย เช่น พิธีถวายสักการะรัชกาลที่ 4 กิจกรรมดูนก ดูดาว กิจกรรมศึกษาฐานการเรียนรู้ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมชายหาด กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ฯลฯนอกจากนี้ยังมี big tank และอุโมงค์ปลา ที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ และเห็นถึงความแตกต่างของสรรพสิ่งในระดับความลึกของน้ำราวดำดิ่งสู่ก้นทะเลลึก จากนั้นไปต่อกันที่อุโมงค์ปลาซึ่งเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ให้คุณสัมผัสดุจดั่งกำลังเดินอยู่ใต้ท้องทะเลเลยทีเดียว
3. มีที่พักสะอาดบรรยากาศติดทะเล สามารถรองรับสมาชิกได้ประมาณครั้งละ 120-200 คน มีทั้งห้องพักและเต้นท์ ห้องพักเป็นแบบห้องพักรวม แยกชายหญิง ห้องพักพัดลม มีห้องน้ำอยู่นอกห้องพักหลังอาคารพัก
4. มีอาหาร น้ำดื่ม บริการในราคาแบบเป็นกันเอง
หลักสูตรที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
1. ค่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ค่ายสิ่งแวดล้อม
3. ค่ายสอนน้องดูดาว
4. ค่ายปักษี
5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ค่าสำหรับเด็กพิการ
8. ค่ายครอบครัว
9. ค่ายทักษะชีวิต ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายตลอดหลักสูตร 3 วัน 2 คืน รวมค่าอาหาร ที่พัก วัสดุอุปกรณ์และค่าตอบแทนวิทยากรประมาณ 250-300 บาท/คนสามารถจองค่ายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานการตลาด โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 ในวันและเวลาราชการ
สวนผีเสื้อ
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผีเสื้อพันธุ์พื้นเมืองให้คุณได้ชื่นชมมากกว่า 20 ชนิด บรรยากาศภายในสวนร่มรื่น มีมุมนั่งพักผ่อนชมปลาแหวกว่ายเวียนวน และดูน้ำตกสวยๆ เพียบพร้อมด้วยเกร็ดความรู้ให้คุณได้ศึกษา เกี่ยวกับวงจรชีวิตผีเสื้อในห้องจัดแสดงวงจรชีวิตผีเสื้อ ซึ่งคุณจะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อครบทั้ง 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีศาลาแห่งชีวิตและมีตัวอย่างผีเสื้อที่เก็บรักษาไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วยเวลาทำการ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะ
: สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคมฯ ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะ โปรดทำหนังสือติดต่อล่วงหน้าในเวลาราชการ โดยทำหนังสือส่งถึง : ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หมู่ 4 ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 โทร. 032 661 098, 032 661 726, 032 661 104 โทรสาน. 032 661 727
เมื่อ 100 กว่าปี ล่วงมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลก ได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ จึงถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไดัรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์ใน วันที่14 กันยายน 2525 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536สถานที่ตั้ง อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อวจ.) ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ หมู่ 4 ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77000 บริเวณกิโลเมตรที่ 335 ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ ไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 314 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินจำนวน 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา อยู่ติดชายทะเลบริเวณอ่าวหว้ากอ มีชายหาดยาว 2.7 กิโลเมตร ขนานทางรถไฟสายใต้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข (032) 661098, 661726-7,661103 โทรสาร ต่อ 133พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งขึ้นตามแผนหลักของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เริ่มดำเนินดารก่อสร้าง มาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543 กำหนดแล้วเสร็จ ในวันที่ 27 มีนาคม 2545 ใช้งบประมาณ ในการก่อสร้างจำนวน 164 ล้านบาท หลังจากก่อสร้างเสร็จก็จะจัด นิทรรศการและการแสดง ภายในเวลา 1 ปี การบริหารจัดการจะเป็นการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าจะเปิดบริการให้เข้าชมได้ในปี 2547 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา สิ่งมีชีวิตในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากกรมประมงและสถาบัน วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การเดินทางไปอุทยานวิทยาศาสตร์
-ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ( สายธนบุรี ปากท่อ ) ผ่านทาง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วเลี่ยวซ้าย สู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัด เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน มุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 281 กิโลเมตร หรืออาจจะเดินทาง จากกรุงเทพ มาทางสายพุทธมณฑล ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี แล้วมุ่งสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเดินทางต่อไปยังอุทยานวิทยาศาตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้โดยรถประจำทางธรรมดาและรถประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายใต้
-โดยรถประจำทางสายกรุงเทพ-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีรถออกเดินทางวันละหลายเที่ยว
-ทางรถไฟ เดินทางออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีขบวนรถเดินทางวันละ 9 เที่ยว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น